วิชาความสุขที่มีสอนแต่ในฮาร์วาร์ด

Authors

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชีพ เบียดนอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยปทุมธานี

Abstract

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกในชื่อ “เปิดห้องเรียนวิชาความสุข” เมื่อปี พ.ศ.2555 ซึ่งการพิมพ์ครั้งนี้อาจจะเรียกว่าเป็นการพิมพ์ครั้งที่สองก็ได้ ผู้เขียนซึ่งเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดเล่าไว้ในบทนำว่า “ครั้งแรกที่ผมเปิดสอนวิชาสัมมนาจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี 2002 มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนเพียงแค่แปดคน แถมในเวลาต่อมายังเพิกถอนไปอีกสองคน....ในปีต่อมา วิชาจิตวิทยาเชิงบวกก็กลายเป็นวิชาที่ แพร่หลายไปทั่วมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผ่านการบอกปากต่อปาก ปรากฎว่ามีนักศึกษามากถึง 380 คนมาลงทะเบียนเรียน...เมื่อผมเปิดสอนวิชานี้ในครั้งถัดมา มีนักศึกษามาลงทะเบียนเรียนมากถึง 855 คน ทำให้วิชานี้กลายเป็นชั้นเรียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การก่อตั้งของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด” จากคำบอกเล่าของผู้เขียนทำให้สงสัยว่าการที่นักศึกษาให้ความสนใจเรียนวิชานี้น้อยในตอนแรก แต่กลับเพิ่มจ านวนมากขึ้นเรื่อยๆนั้น เป็นเพราะความน่าสนใจของรายวิชาหรือความน่าสนใจของกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดให้ ซึ่งก็เดาได้ไม่ยากว่าน่าจะเป็น ประการหลังมากกว่า และเมื่อได้อ่านต่อไปยิ่งเข้าใจได้มากขึ้นโดยผู้เขียนบอกว่า “จิตวิทยาเชิงบวก หมายถึง การศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในภาวะที่ยอดเยี่ยมที่สุด... โดยก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 1998 ...นับแต่นั้นเป็นต้นมา การศึกษาวิจัยเรื่องความสุขก็ถูก ครอบงำโดยจิตวิทยาประชานิยม (pop psychology) เสียเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้การสัมมนาและหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองส่วนใหญ่จะมอบความเพลิดเพลินและคุณสมบัติพิเศษบางอย่างให้ แต่โดยมากก็แทบไม่มีเนื้อหาสาระอะไรเลย” คนที่เคยเป็นอาจารย์ผู้สอนจะรับรู้ได้ว่า สาระการเรียนรู้ที่ออกแบบมาให้ดีเลิศอย่างไรก็ ตามไม่สำคัญเท่ากับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้สอน “...เราเรียนรู้ที่จะให้ ความสำคัญกับเป้าหมายลำดับถัดไปมากกว่าประสบการณ์ในปจจจุบัน และใช้เวลาทั้งชีวิตไล่ล่า อนาคตที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราไม่ได้รับรางวัลจากการเดินทาง แต่จะได้รับรางวัลจากการ ไปถึงจุดหมายต่างหาก นั่นเป็นเพราะสังคมให้ความสำคัญกับผลลัพธ์..ไม่ใช่การเดินทาง” ผู้เขียนสร้างรูปแบบของความสุขที่มนุษย์เลือกเดินทางเพื่อเป้าหมายคือความสุขไว้สี่ รูปแบบประกอบด้วย รูปแบบคนเจ้าสำราญ (hedonism archetype) รูปแบบหนูวิ่งแข่ง (rat race archetype) รูปแบบคนหมดอาลัยตายอยาก (nihilism archetype) และรูปแบบความสุข (happiness archetype) ซึ่งมนุษย์แต่ละคนเลือกที่จะมีความสุขในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่ ผู้เขียนเห็นว่าการเข้าถึงความสุขที่แท้จริงคือ การดำเนินชีวิตตามรูปแบบความสุข รวมถึงการฝึกจิต ให้อยู่กับความสุขที่ผู้เขียนแนะนำคือ การฝึกสมาธิ โดย “จงทำสมาธิเป็นกิจวัตร” และคำจำกัด ความของความสุขโดยผู้เขียนคือ “ประสบการณ์ในภาพรวมของความพอใจและความหมาย” ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี เขียนคำนิยมให้หนังสือเล่มนี้ไว้ว่า “....หนังสือ เล่มนี้เรียบเรียงจากฐานของวัฒนธรรมตะวันตก คนตะวันตกนั้นคิดมาก จึงเกิดความทุกข์ชนิดที่ชาวพุทธตะวันออกอาจจะไม่เข้าใจ แต่ก็น่าจะนำมาเสริมกันได้ ทางตะวันตกอาจจะแสวงหา ความคิดที่ลงตัวแล้วพบความสุข แต่ชาวพุทธเน้นที่ทาน ศีล ภาวนา ในส่วนของการภาวนานั้น สติ สมาธิ ปจญญา ทำให้พบความสุข...” ในความเป็นจริงแล้วชาวพุทธมีศาสตร์ของความสุขที่ชัดเจนอยู่ แล้วเพียงแต่เราเข้าถึงแก่นแท้ของความเป็นพุทธหรือยัง ชาวไทยทุกคนก็มีศาสตร์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่หากดำเนินรอยตามศาสตร์นี้อย่างจริงจังแล้วก็ย่อมเข้าถึงความสุขได้อย่าง ง่ายดาย หรือถ้าอยากจะใช้วิธีคิดแบบตะวันตก หนังสือเล่มนี้ก็จะช่วยชี้แนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อ เข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

เบียดนอก ผ. ด. (2018). วิชาความสุขที่มีสอนแต่ในฮาร์วาร์ด. Pathumthani University Academic Journal, 10(1), 311–312. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/182596