คุณภาพการให้บริการ True Wi-Fi : กรณีศึกษาลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการ, ความพึงพอใจ, ทรูไวไฟ, ความสัมพันธ์, พฤติกรรมบทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการ True Wi-Fi ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมการใช้บริการ
ประชากรคือ ผู้ใช้บริการ True Wi-Fi ในเขตกรุงเทพมหานครโดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดย Scheffe¢
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-29 ปี สมรส อาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท และการศึกษาปริญญาตรี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรม พบว่าส่วนใหญ่มีระยะเวลาการใช้งานต่ำกว่า 1 ชั่วโมง/ครั้ง ใช้งานช่วงเย็น (16.00-19.00 น.) ผ่านทางสมาร์ทโฟน ใช้งานในเขตพระโขนง ใช้งานส่วนบุคคลทั่วไป และใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท LINE ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความครอบคลุมสัญญาณ ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ พนักงานดูแลเอาใจใส่ต่อปัญหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เพศ อายุ สถานภาพการสมรส และอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการใช้บริการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนทางด้านพฤติกรรมพบว่า ระยะการใช้งานโดยเฉลี่ย การใช้งานต่อวัน สถานที่ใช้งาน และวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาสามารถนำมาเขียนข้อเสนอแนะให้กับทางบริษัททรู เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงเรื่องการให้บริการต่อไป
References
ทรูคอร์ปอเรชั่น. บมจ. (2560). บริการ True Wi-Fi. https://www.truecorp.co.th/ TrueWiFi.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). ฉลาดรู้เน็ต 1 ตอน Internet of Things (IoT). กรุงเทพฯ:.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2560 จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/ service/servstat.html.
Dominici, Gandolfo., & Guzzo, Rosa. (2010). Customer satisfaction in the hotel industry: A case study from sicily. International Journal of Marketing Studies, Vol. 2 No. 2, pp. 3-12.
Magrath, A.J. (2001). When marketing services 4P’s are not enough. Business Horizons. p. 50.
Parasuraman, A., V. A. Zeithaml And L.L. Berry. (1985). “A Conceptual Model Of Service Quality And Its Implications For Future Research,” Journal Of Marketing. Vol.12 No.25 : 125-136.
Sapre, Anand., & Nagpal, Amit. (2009). Viewer relationship management in Indina news channels: an analysis using 7P’s framework. The Icfai University of Marketing Management, Vol. VIII No. 1, pp. 38-47.
Viulet, Nicoleta-Cristina. (2008). Are your satisfied customers loyal?. Annals of the University of Oradea, Economic Science Series, Vol. 17 Issue. 2, pp. 73-80.
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing custemer perceptions and expections. New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว