ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การทุจริตคอร์รัปชันของจังหวัดเขตปริมณฑล
คำสำคัญ:
การทุจริตคอร์รัปชัน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของจังหวัดเขตปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของจังหวัดเขตปริมณฑล จำแนกตามปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของการปฏิบัติงาน 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความชัดเจนในบทบาทตามกฎหมาย และด้านความชัดเจน ในนโยบายของผู้บริหารกับความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านยุทธศาสตร์องค์กร ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านระบบการปฏิบัติงาน ด้านบุคลากร ด้านทักษะความรู้ความสามารถ ด้านรูปแบบการบริหารจัดการ และด้านค่านิยมร่วมต่อสังคม ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 220 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่า t-test , ค่า F-test และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe) มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีเพียร์สัน (Pearson’ s Correlation) ผลการวิจัยพบว่า : (1) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมีปัจจัยด้านลักษณะของการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 (2) เมื่อพิจารณาความพร้อมขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 (3) จากการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล พบว่าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาพรวมที่มีระดับการศึกษาและระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน แตกต่างกันมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (4) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของการปฏิบัติงานกับความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ด้วยวิธีของเพียร์สัน พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) จากผลการวิจัยในภาพรวม ทำให้ทราบถึงความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนเงื่อนไขของความสัมพันธ์ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ในการนำเสนอกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล และสังคมชุมชนนั้นๆ อันสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และนโยบายสำคัญของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดต่อไป
References
Dess, G. G. & Miller, A. (1993). Strategic Management. (Int’l Ed.). Singapore :
McGraw Hill.
Yamane, Taro. (1967). Statistic An Introductory Analysis. New York : Harper
and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว