ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจต่อความวิตกกังวล ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คำสำคัญ:
ความวิตกกังวล, สัมพันธภาพ แรงจูงใจ, โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี จำนวน 50 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวลแบบสอบถามสัมพันธภาพ แบบสอบถามแรงจูงใจและโปรแกรมเสริมพลังอำนาจ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของโปรแกรม เท่ากับ .88 แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามสัมพันธภาพ และแบบสอบถามแรงจูงใจตรวจสอบสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .88, .90, และ.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบ (T-test ) ผลการวิจัย 1. ความวิตกกังวลก่อนได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 80 (Mean = 2.65, SD =1.00) และหลังได้รับโปรแกรมมีความวิตกกังวล อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 84 (Mean = 1.05, SD =.40) และทดสอบค่าที พบว่าความวิตกกังวล ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t= 3.18, P=.01) 2. แบบสอบถามสัมพันธภาพก่อนได้รับโปรแกรม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 80 (ก่อน Mean = 2.30, SD. = .39) และหลังได้รับโปรแกรมมีสัมพันธภาพ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 92 (Mean = 2.79, SD. = .30) และทดสอบค่าที พบว่า สัมพันธภาพก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t= 3.54, P=.01) 3. แบบสอบถามแรงจูงใจก่อนได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60 (Mean = 2.31, SD = .53) และหลังได้รับโปรแกรมมีแรงจูงใจ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 80 (Mean = 2.69, SD =.45) และทดสอบค่าที พบว่า แรงจูงใจก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t= 2.18, P=.01)
References
2.ธัญญารัตน์ จันทรเสนา. (2555). ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
3.บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.ประเวศ วะสี. (2544). วิธีคลายเครียด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
5.ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์. (2553). การรับรู้ระดับความเครียดและต้นเหตุความเครียดของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(1), 47-59.
6.สุธีรา ทันสมัย. (2548). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลในการประกอบอาชีพครูของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7.Seaward, B. L. (1999). The nature of stress: college student. Principles and Strategies for Health and
Wellbeing. Toronto: Jone and Bartlett
8.Spielberger, C. D. (1983). Manual for the state- trait anxiety inventory (STAI) Y: Self-evaluation
questionnaire. Polo Alto, CA: Consulting Psychologists.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว