มุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกที่มีต่อระดับการใช้เทคนิคการบัญชีบริหาร ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
Keywords:
เทคนิคการบัญชีบริหาร, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ธุรกิจค้าปลีกAbstract
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการใช้เทคนิคการบัญชีบริหารของสถานประกอบการด้านการวางแผนและควบคุม 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการใช้เทคนิคการบัญชีบริหารของสถานประกอบการด้านการตัดสินใจ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการใช้เทคนิคการบัญชีบริหารของสถานประกอบการด้านการจัดการต้นทุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจร้านค้าปลีกในจังหวัดอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 394 แห่ง ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ประเภทธุรกิจร้านค้าปลีก ที่ใช้เทคนิคการบัญชีบริหารในการดำเนินงานใช้เทคนิคการบัญชีบริหารอันดับแรก ด้านการวางแผนและควบคุม ประกอบด้วยเรื่อง งบประมาณการขาย งบประมาณต้นทุนขาย งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการตัดสินใจ ประกอบด้วยเรื่อง การกำหนดราคาขาย การเพิ่มสินค้าชนิดใหม่ อยู่ในระดับมาก และอันดับสุดท้ายคือด้านการจัดการต้นทุน ประกอบด้วยเรื่อง การกำหนดเป้าหมายกำไรก่อนกำหนดราคาสินค้า การตั้งเป้าต้นทุนการได้มาของสินค้าในร้านก่อนที่จะพิจารณาตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ธุรกิจค้าปลีกที่มีลักษณะการจดทะเบียนทางการค้า ทุนจดทะเบียนในการดำเนินงาน จำนวนพนักงาน ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน มีระดับการใช้เทคนิคการบัญชีบริหารที่แตกต่างกัน
References
กนกวรรณ แสนสุรินทร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคนิคการบัญชีบริหารกับผลการดำเนินงาน: กรณีศึกษาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทธุรกิจค้าปลีก ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. (2558). คุณภาพข้อมูลทางบัญชีบริหาร นวัตกรรมทางการบริหารการเพิ่มผลผลิตและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
,เต็มศิริ ไกรลาศ. (2559). อิทธิพลของการประยุกต์เทคนิคบัญชีบริหารและการบริหารความเสี่ยงต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มนูญชัย ธีระอกนิษฐ์. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้ การบัญชีบริหารที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
,พรนภา ธีระกุล. (2545). การใช้ข้อมูลบัญชีบริหารเพื่อการจัดการในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา. บทความวิจัย. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รัชดาพร ต๊ะนิล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์กับผลการประกอบการของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
รัชนียา บังเมฆ. (2552). ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ธุรกิจเทคนิคทางการบัญชีบริหารและการวัดผลการปฏิบัติงานของบริษัทในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วราภรณ์ นาคใหม่ และ สมยศ อวเกียรติ. (2558). การประยุกต์ใช้บัญชีบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ศรีสุดา อาชาวานันทกุล. (2557). การบัญชีบริหาร Management Accounting. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา และคนอื่น ๆ. (2555). ความสำเร็จของการปฏิบัติทางบัญชีบริหารและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเซรามิกในจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สมหวัง สีหะ. (2557). การใช้เทคนิคการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาวดี พินิจ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินอทธิ์. (2559). ประสิทธิผลของข้อมูลการบัญชีบริหารที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรทางธุรกิจ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว