ปัญหาและความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานของ พนักงานธนาคารพาณิชย์ในเขตเมืองพัทยา
คำสำคัญ:
ปัญหาและความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษ, พนักงานธนาคาร, ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัญหาการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน 2) ระดับความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตเมืองพัทยา จำนวน 80 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน โดยการค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Correlation)
ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับปัญหาการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน ในภาพรวมเฉลี่ยและรายด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ปัญหาการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน ด้านทักษะการฟัง ( =4.42, S.D.=.74) ด้านทักษะพูด (
=4.09, S.D.=.75) ด้านทักษะการเขียน (
=3.90, S.D.=.98) และด้านทักษะการอ่าน (
=3.49, S.D.=1.14) 2.ระดับความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน ในภาพรวมเฉลี่ยและรายด้านทักษะการพูด ทักษะการเขียน และทักษะการอ่าน มีความจำเป็น อยู่ในระดับมาก ยกเว้นรายด้าน ทักษะการฟัง มีความจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านทักษะการฟัง (
=4.59, S.D.=.71) ด้านทักษะพูด (
=4.37, S.D.=.72) ด้านทักษะการเขียน (
=4.22, S.D.=.81) และด้านทักษะการอ่าน (
=3.93, S.D.=.89) 3.ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน กับความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r=.74
References
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). 50 ปีของไทยในอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : หจก. ธรรมชาติการพิมพ์.
กฤษณะ โฆษชุณหนันท์. (2559). “การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรไทย กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่น ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร”. วารสารสุทธิปริทัศน์. ปีที่ 30 ฉบับที่ 93 หน้า 146-159.
จงจิต ศุภสมบัติโอฬาร. (2557). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความต้องการและการพัฒนาตนเองของพนักงานธนาคารเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) กรณีศึกษา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนาคารกรุงไทย. (2556). รายงานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://krungthai.com/Download/CSR/CSRDownload_54CSR_report56_3.pdf. เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2563
ธนาคารกสิกรไทย. (2562). รายงานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornbank.com/th/sustainabledevelopment/SDAnnualReports/2019_SD_TH.pdf. เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2563
นันทิยา ดวงภุมเมศ และ นันธิดา จันทรางศุ. (2559). “แนวทางการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของคนไทยบทสังเคราะห์งานวิจัยมุ่งเป้าหมายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ”. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 35 ฉบับที่ 2.
นพพร สโรบล. (2558). ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/39/56.pdf เข้าถึงเมื่อ 26 สิงหาคม 2563.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
ประภาส บุญทับ. (2558). “ภาษาอังกฤษสำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”. วารสารเกษมบัณฑิต. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2. หน้า 16-26.
มินตรา ไชยชนะ และคณะ. (2559). “ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับในโรงแรม จังหวัดน่าน ในทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ.” วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมวิทยาและการศึกษา. หน้า 321-328.
สุภิตา กาฬสินธุ์ และ นิสากร จารุมณี. (2558). “ความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรมในพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ของประเทศไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. หน้า 1-22.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพมหานคร.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2550). บทบาทของผู้ปฏิบัติงานในด้าน HRD. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170512_153052.pdf. เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563.
อดิศักดิ์ ย่อมเยาว์. (2561). “ปัญหาการใช้ทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย.” วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 56 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ปีที่ 23 ฉบับที่ 2. หน้า 56-65.
Fiske, J., (1990). An Introduction to Communication Studies, Routledge.
Krecie,R.V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational; and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Sakineh Mohammadzadeh, Tahereh Barati & Mohammad Ali Fatemi. (2015). “An Investigation into the English Language Needs of Bank Employees of Saderat Bank in Mashhas”. Islamic Azad University Iran. Theory and Practice in Language Studies, Vol. 5, No 8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว