การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการบริหารงานท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • นริศรา แดสามัญ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, ธรรมาภิบาล, เทศบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหาร งานตามหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดปัตตานี และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลในจังหวัดปัตตานีจำนวน 400 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 17 คน ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่เข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis) และใช้การประสานวิธี ในการสัมภาษณ์เจาะลึก

          ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณงามความดี ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักความพร้อมรับผิด และระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาล ในจังหวัดปัตตานี อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการรักษาความปลอดภัยและเสริมสร้างสันติสุข อยู่ในระดับมาก ด้านพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก การบริหารและการจัดการในแนวทางกตัญญูนิยมอยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และด้านการพัฒนาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดปัตตานี โดยภาพรวมคือ ด้านหลักความพร้อมรับผิด ด้านหลักความมีส่วนร่วมและด้านหลักความคุ้มค่าโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย .60 , .38 และ .35 ค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ .75 สามารถทำนายการบริหารงานตามหลัก  ธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการบริหารงานท้องถิ่นของเทศบาล ในจังหวัดปัตตานีโดยภาพรวม ได้ร้อยละ 75.50

References

กมลลักษณ์ ธนานันต์เมธี. (2559). “อิทธิพลของธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย”. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(1) : 135.

ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์. (2545). ธรรมาภิบาลในความหมายของภาครัฐเอกชน และประชาชน : กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังความรู้ถ่านหิน หินกรูด. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ และเอนก นอบเผือก. (2561). “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1. หน้า 129

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และคนอื่น ๆ (2549). รายงานการศึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลเพื่อการบริหาร ราชการแผ่นดินในส่วนภูมิภาค. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2552). ทศธรรม: ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร : สถาบัน พระปกเกล้า.

Mendoza, M.L. (2000). “Measures of Good Governance in the Philippine Public Sector”. Paper Prepared for Asia Pacific Governance 2000. 27 – 28 April, at Sheraton Hotel, Brisbane, Queensland, Australia.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31

How to Cite

แดสามัญ น. (2020). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการบริหารงานท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(2), 333–353. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/247191