ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน ของบุคลากรทางการศึกษา กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษา ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2

ผู้แต่ง

  • Boonmee Aroonchai chaingrai

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการทำงาน, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา ของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา ตอนที่ 3 ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา ของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.14, S.D.=.44) 2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.17, S.D.=.43) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับมาก (r=.84) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

กมลวรรณ ยอดมาลี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาคริต จันทร์สว่าง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอัตราจ้างวิทยาลัยเทคนิคระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐากูร ปาละนันทน์. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดวิทยาลัยชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นรา สมประสงค์. (2546). การจูงใจ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชันญานุช ปิ่นทองคำ. (2555) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชรี เหลืองอุดม. (2555) การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

พลอยปภัส ธนกิตติ์กรณ์แก้ว. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของครู กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอสนามชัยเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัทรนันท์ ศิริไทย และ ชิตพล ชัยมะดัน. (2559). “ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว”. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1. หน้า 157-197.

วนิดา ประเสริฐ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูแลบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลบบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

ศิริวรรณ ศิริเดชานนท์. (2557). การศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา : ศูนย์ปฏิบัติการสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชั่น.

สมคิด กลับดี. (2553). ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1993). The motivation to work. New Brunswick, N.J., U.S.A: Transaction Publisher

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. U.S.A: Transaction Publisher

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

How to Cite

Aroonchai, B. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน ของบุคลากรทางการศึกษา กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษา ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(1), 87–98. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/249035