- ความผูกพันของนักศึกษาครูที่มีต่อนครครูกับคุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์
-
คำสำคัญ:
ความผูกพัน, นักศึกษาครู, นครครู, คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันของนักศึกษาครูมีที่มีต่อนครครู 2) ศึกษาระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของนักศึกษาครูที่มีต่อนครครูกับคุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ 4) ศึกษาคุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันของนักศึกษาครูที่มีต่อนครครูศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู จำนวน 100 คน ใช้แบบสอบถามที่มีคุณภาพดี ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาครูมีความผูกพันต่อนครครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นครู ตามลำดับ 3) ความผูกพันของนักศึกษาครูที่มีต่อนครครูกับคุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r=.65) 4) คุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของนักศึกษาครูที่มีต่อนครครู คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นครู รองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติ สามารถร่วมกันทำนายความผูกพันของนักศึกษาครูที่มีต่อนครครู ได้ร้อยละ 65.40 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ดังสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ A=.417+.51B2 + .37B1 และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .51B2 + .32B1
References
กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพันธะผูกพันของนักศึกษากับมหาวิทยาลัยเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
กรองทิพย์ นาควิเชตร และคณะ. (2562). “การพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2562 : กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา”. รายงานสืบเนื่องจากสัมมนาวิชาการระดับชาติของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 26 เมษายน 2562.
คุรุสภา. (2562). การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.ksp.or.th. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564.
จุฑารัตน์ ทิพย์บุญทรัพย์. (2560). “การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล”. วารสาร Mahidol R2R e-journal. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. หน้า 56-69.
ดลฤดี เกตุรุ่ง. (2556). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันองค์การของครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นักรบ หมี้แสน และคณะ. (2557). “ความผูกพันต่อองค์การของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์”. วารสารสุทธิ์ปริทัศน์. ปีที่ 28 ฉบับที่ 88. หน้า 255-270.
ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เร่องรายละเอียดมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอน 109. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ksp.or.th/ksp2018/2020/06/19628/. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564.
วิจารณ์ พานิช. (2564). พลังครูไทยวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. ปาฐกถา หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ครั้งที่ 4. วันครู ครั้งที่ 65. พ.ศ. 2564. จัดโดยคุรุสภา วันที่ 16 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.ksp.or.th. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2564.
สุกัญญา ส่งสวัสดิ์. (2562). “ความผูกพันต่อองค์กรของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หน้า 3-24.
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2562). “การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุควิกฤตผู้เรียน”. การประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรค์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 3 : การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ Kensington English Garden Resort Khaoyai อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
อโนทัย คำอาจ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกับความผูกพันต่อองค์กรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Libbey, H.P. (2004). Measuring Student Relationships to school : Attachment, Bonding, Connectedness, and Engagement. Journal of School Health. Vol. 74 No. 7. pp 274-283 .
Orozco F. & Arroyo J. (2017). “Students Royalty in Higher education: the role of Affective commitment, service co-create and engagement”. Cuadernos de Administracio’n (Universidad del velle). Vol. 33 No.57. pp. 96-110.
Strange, C. Carney & Banning, James H.. (2000). Educating by Design : Creating Campus Learning Environments That Work. San Francisco : Jossey-Bass.
Shattock, Michael. (2003). Managing Successful Universities. Berkshire, England :
Open University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว