ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำโครงการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • กษินา จีนศรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การทำโครงการวิจัย, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการทำโครงการวิจัยของ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำโครงการวิจัย ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีประสบการณ์ในการทำโครงการวิจัย จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ในปัจจัยด้านศักยภาพ และปัจจัยด้านการสนับสนุนการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการทำโครงการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปัจจัยด้านศักยภาพ และปัจจัยด้านการสนับสนุนการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของปัจจัยการทำโครงการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยทดสอบความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย เมื่อเพิ่มปัจจัยทีละด้าน พบว่า ปัจจัยด้านศักยภาพ และปัจจัยด้านการสนับสนุนการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ไม่ส่งผลต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำโครงการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Author Biography

กษินา จีนศรี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

นางสาวกษินา  จีนศรี

นักวิชาการศึกษา (บุคลากรสายสนับสนุน)

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

กัญญาวีร์ สมนึก. (2557). ปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

ปรารถนา อเนกปัญญากุล และคณะ. (2556). พฤติกรรมการทำวิจัย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงานการวิจัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัชรา บุญนำพา และ สมควร ทรัพย์บำรุง. (2552). แรงจูงใจ ปัจจัยเกื้อหนุน และปัญหาในการทําวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รายงานการวิจัย. ปทุมธานี : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

(ร่าง) แผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพมหานคร : สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.

(ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : โคคูน แอนด์ โค.

วนิดา พิงสระน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมเจตน์ นาคเสวี และคณะ. (2550). เจตคติต่อการวิจัยและปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัยของบุคลากรวิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีรายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อังศินันท์ อินทรกำแหง และคณะ. (2561). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการพัฒนาหัวข้อวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยส่งผ่านคุณลักษณะที่ดีของการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

How to Cite

จีนศรี ก. (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำโครงการวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(1), 358–370. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/250306