จิตวิทยาเชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
จิตวิทยาเชิงบวก, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุชาวมอญบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญ และอิทธิพลระหว่างจิตวิทยาเชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามจิตวิทยาเชิงบวก และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดย โดยใช้สูตรหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient Alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ .86, และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
- จิตวิทยาเชิงบวกส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีจำนวนร้อยละ ( =3.60, SD.=.47)
- พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีจำนวนร้อยละ ( =3.84, S.D. =.51) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาวมอญอยู่ในระดับมาก มีจำนวนร้อยละ ( =3.95, S.D.=.59)
- จิตวิทยาเชิงบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับ พฤติกรรมสุขภาพ ที่ระดับ .05 (r=.51) และจิตวิทยาเชิงบวกสามารถพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 39.80 (R =.39, p < .05)
ข้อเสนอแนะในการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนส่งเสริมจิตวิทยาเชิงบวกและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญให้มีสุขภาพที่ดี
References
กัญญาวีณ์ โมกขาว วัชรินทร์ ช่างประดับ และวลัยนารี พรมลา. (2563). “อิทธิพลของจิตวิทยาเชิงบวก ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ต่อความสามารถในการดูแลตนเองด้านจิตใจของประชาชนในตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา” .วารสารกองการพยาบาล. ปีที่ 47 ฉบับที่ 3. (กันยายน – ธันวาคม). หน้า 57-70.
นฤนาท ยืนยง และวลัยนารี พรมลา. (2560). “โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญจังหวัดปทุมธานี”.วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม-ธันวาคม). หน้า 20-29.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐวุฒิ อรินทร์ อรพินทร์ ชูชม ดุษฎี โยเหลา และนาชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2556). “การทำหน้าที่ตัวแปรคั่นกลางของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางจิต และพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนใต้”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1. (มกราคม – เมษายน). หน้า 99-117.
พัชรวรรณ สุวรรณรัตน์ และคนอื่นๆ (2557). “การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน”. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.ปีที่ 32 ฉบับที่3. (กันยายน – ธันวาคม). หน้า 86-92.
สุวรรณา สุวรรณผล และวลัยนารี พรมลา. (2559). “พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี”. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม – ธันวาคม). หน้า 67-78.
อังศินันท์ อินทรกำแหง และ ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล. (2561). “อิทธิพลของจิตวิทยาเชิงบวก และบรรทัดฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและสุขภาวะครอบครัวโดยส่งผ่านความรอบรู้ด้านสุขภาพของครอบครัวในชุมชนกึ่งเมือง: การวิจัยผสานวิธี”.วารสารพฤติกรรมศาสตร์. ปีที่ 24 ฉบับที่ 1. (มกราคม – เมษายน). หน้า 1-22.
Luthans, F., Youssef, C. M., & Avolio, B. J. (2007). Psychological capital: Developing the human competitive edge. Oxford: Oxford University Press.
Miljkovic, N., Lim, J. Y., Miljkovic, I. and Frontera, W. R. (2015). “Aging of skeletal muscle fibers”. Annals of rehabilitation medicine. Vol.39 No.2.155–162.
Orem, D.E. (1991). Nursing: Concepts of Practice. (5th ed.) St. Louis: Mosby.
Sheldon, KM., & King, L. (2001). “Why positive psychology is necessary”. American Psychologist. Vol.56. 216–217.
Zugich, J.N., Goldman, D.P., Cohen, P.R., Cortese, D., Fontana, L., Kennedy,B.K. & Fain,M.J. (2016). “Preparing for an Aging World: Engaging Biogerontologists, Geriatricians, and the Society”. The Journals of Gerontology: Series A. Vol. 71 No.4. pp. 435–444.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว