ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนของพนักงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • phongphan jan-o-cha -

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน , พนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ปัจจัยที่ส่งผลในการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  2) วิเคราะห์ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร จำกัด (มหาชน) และปริมณฑล จำนวน 2,888 คน นำมาคำนวณหากลุ่มตัวอย่างได้ จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยนำแบบสอบถามไปหาค่าความเชื่อมั่นได้ .90 และนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านทัศนคติ  มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณภาพ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านการสื่อสารยุคใหม่ ด้านปริมาณงาน ด้านการควบคุมดูแล และด้านความรู้และทักษะในงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ความต้องการความก้าวหน้า ความสำเร็จในงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และการได้รับการยอมรับนับถือส่งผลต่อประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ร้อยละ   .97 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เสนอให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการคือ 1) ให้บุคลากรด้าน IT อบรมเพิ่มความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีทางการเงิน 2) ผู้บริหารเพิ่มทักษะภาวะผู้นำยุคใหม่ และ 3) ประสานความร่วมมือบริษัทด้าน IT ยุคใหม่

References

กานดา คำมาก. (2555). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

เกศรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้าง องค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กันตยา เพิ่มผล. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : บุญสิริการพิมพ์.

กิตติพงศ์ ศิริพร. (2551). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตรถยนต์ จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ขวัญใจ พรหมศรี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรณีศึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดในเขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คฑาวุธ พรหมายน. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองตรวจคนเข้าเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจฝ่าย1 ฝ่าย 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จันทร์ชุ่ม เมืองปัก. (2546). แรงจูงใจและการจูงใจสร้างปาฏิหาริย์. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2549). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูเกียรติ ยิ้มพวง. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด โรงงานจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐวัตร เป็งวันปลุก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหาร ประจำสังกัดกองพัทหารราบที่ 7 กรมทหารราบที่ 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ดารณี พานทอง. (2542). ทฤษฎีจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2534). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

รชต ตั้งนรารัชชกิจ. (2565). หนี้ครัวเรือน : ปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.bot.or.th

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2018). วิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.botic.or.th

Arra Czarina, Eden Estopace. (2022). Philippines to test wholesale CBCD AMP Sells Collimate Capital, Asset to Dexus. [Online] from www.spglobal.com

Estrada. (2010). Financial Development and Economic Growth in Developing Asia. Philippines: Asian Development Bank.

Herzberg, Frederick. (1959). The Motivation of work. New York: John Wiley & And & Sons.

Unctad. (2016). World Investment Report 2016. United Nation: New York and Geneva.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

jan-o-cha, phongphan. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนของพนักงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 14(2), 52–66. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/259086