แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาเกษตรกรรม

ผู้แต่ง

  • เอกพรรณ ธัญญาวินิชกุล Chandrakasem Rajabhat University
  • ปิยพร ท่าจีน
  • ประภาส จงสถิตวัฒนา

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ , เกษตรกรรม, ชาวนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเกษตรกรรมของชาวนากับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก สนับสนุนด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือชาวนา จังหวัดชัยนาท จำนวน 482 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคโมเดลสมการโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ชาวนา ผู้นำท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ จำนวนรวม 28 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.73 ค่า GFI = .99, CFI= .99, NFI= .99 , RMR = .01, RMSEA = .04  2) การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเกษตรกรรมได้รับอิทธิพลทางตรงจากความตั้งใจแสดงพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยมูลค่าราคา คุณภาพสารสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รวมทั้งปัจจัยความคาดหวังในประสิทธิภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีสัดส่วนความเชื่อถือได้ซึ่งอธิบายด้วยปัจจัยเชิงสาเหตุ ร้อยละ 75.8 (R2=0.758) สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ และพบว่าปัจจัยด้านมูลค่าราคา มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจแสดงพฤติกรรมโดยมีประสบการณ์เป็นตัวแปรกำกับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์. (2564) .รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพมหานคร : ผู้แต่ง.

ชุมแพร บุญยืน และคนอื่น ๆ. (2561). “ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.” วารสารช่อพะยอม. ปีที่ 29 ฉบับที่ 1. หน้า 359-357.

พลสราญ สราญรมย์. (2562). “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในจังหวัดกระบี่”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1. หน้า 155-163.

วิษณุ อรรถวานิช และคนอื่น ๆ. (2565). การจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายการเกษตรดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 สำหรับประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.moac.go.th/foreignagri-news-files-441091791116

สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม และคนอื่น ๆ. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตพืชเศรษฐกิจของเกษตรกร. วารสารเกษตร มสธ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1. หน้า 31-44.

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ และคนอื่น ๆ. (2562). ภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมอย่างไรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/ Article_26Sep2019.aspx

Beza, E., Reidsma, P., Poortvliet, M., Belay, M.M., Bijen, B.S., Kooistra, L. (2018). “Exploring farmers’ intentions to adopt mobile Short Message Service (SMS) for citizen science in agriculture”. Computers and Electronics in Agriculture. Vol 151. pp. 295-310.

Caffaro, F. , Cremasco, M.M., Roccato, M., Cavallo, E. (2020). “Drivers of farmers’ intention to adopt technological innovations in Italy: The role of information sources, perceived usefulness, and perceived ease of use”. Journal of Rural Studies. Vol 76. pp. 264-271.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). “The DeLone and McLean Model of Information Systems Success: A Ten-Year Update”. Journal of Management Information Systems. Vol 19. No 4. pp. 9-30.

Kante, M., Oboko, R. and Chepken, C. (2019). “An ICT model for increased adoption of farm input information in developing countries: A case in Sikasso, Mali”. Information Processing in Agriculture. Vol 6. pp. 24-46.

Michels, M., Bonke, V., and Muhoff, O. (2020). “Understanding the adoption of smartphone apps in crop protection”. Precision Agric. Vol 21. pp. 1209-1226.

Gloy, B. A. and Akridge, J. T. (2000). “Computer and Internet adoption on large U.S. farms”. Internatial Food and Agribusiness Management Review, Vol 3. No. 3. pp. 323-338.

Molina-Maturano, J., Verhulst, N., Tur-Cardona, J., Güerena, D.T., Monsalve, A.G., Govaerts, B., Speelman, S. (2021). Understanding smallholder farmers’ intention to adopt agricultural apps: the role of mastery-approach and innovation hubs. Agronomy 2021. Vol 11. No. 2. pp. 194.

Rose, D.C., Sutherland, W.J. , Parker, C., Lobley, M., Winter, M., Morris, C., Twining, S., Ffoulkes, C., Amano, T., Dicks, L.V. (2016). “Decision support tools for agriculture: Towards effective design and delivery”. Agricultural Systems. Vol 149. pp. 165-174.

Stevens, J. P. (2002). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences. (4th ed.). Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc., Publishers.

Taylor, W. J., Zhu, G. X., Dekkers, J., & Marshall, S. (2003). “Factors affecting home internet use in Central Queensland.” In Proceedings of the 2003. Information Science and Information Technology Education Conference, Pori, Finland, Vol 3. pp. 573-588.

Watkins, A. & Ehst, M. (2008). Science, Technology, and Innovation: Capacity Building for Sustainable Growth and Poverty Reduction. World Bank. [Online]. From: https://openknowledge.worldbank.org/handle/10986/6418

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

ธัญญาวินิชกุล เ., ท่าจีน ป. ., & จงสถิตวัฒนา ป. (2023). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาเกษตรกรรม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 15(1), 36–50. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/262693