บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • kotchakorn boonma -

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ, การรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน , หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพยาบาล                ในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน ซึ่งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องดำเนินการรับ-การส่งต่อผู้ป่วยตามเกณฑ์มาตรฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ บุคลากร     ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ประกอบด้วยระดับผู้บริหารการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ นักฉุกเฉินการแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน กลุ่มช่วยการแพทย์ฉุกเฉิน และระดับกลุ่มผู้ปฏิบัติการ ได้แก่ หัวหน้าชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน ผู้ช่วยหัวหน้าชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน อย่างน้อย 1 คน และพนักงานขับรถบริการฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในทุกตำแหน่ง อย่างน้อย 2 ใน 3 ของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน ต้องมีการปฏิบัติการฉุกเฉินหรือฝึกปฏิบัติการฉุกเฉิน เฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ 4 ครั้ง ในแต่ละไตรมาส เพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

พยาบาลวิชาชีพ จะได้รับมอบหมายให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการฉุกเฉิน    ซึ่งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการฉุกเฉินจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไป ทั้งทำหน้าที่พยาบาลศูนย์รับ-ส่งต่อผู้ป่วย พยาบาลหอผู้ป่วย พยาบาลจัดลำดับการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย และพยาบาลรับ-ส่งต่อผู้ป่วย ไปให้ถึงที่นัดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามอาการและตามมาตรฐานของการปฏิบัติของแต่ละโรคระหว่างการเคลื่อนย้ายสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2545). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2545). เรื่อง มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานระบบการส่งต่อผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร.

พรพิไล นิยมถิ่น, อารี ชีวะเกษมสุข และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2560). “การพัฒนารูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย”. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. ปีที่ 35 ฉบับที่ 1. หน้า 1-12.

วิภาดา วัฒนนามกุล. (2551). “แนวทางการพัฒนาบุคลากรและยกระดับศักยภาพของบุคลากร”. สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บ.ก.), หลักการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. หน้า 16-30. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.

ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). [ออนไลน์]. เจ็บป่วยแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ฉุกเฉิน”. เข้าได้ถึงจาก https://portal.info.go.th/universal-coverage-emergency-patients/

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2564). คู่มือแนวทางปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลหน่วยปฏิบัติการแพทย์ พ.ศ. 2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). [ออนไลน์]. รายงานสถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย). เข้าได้ถึงจาก https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf

สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. (2564). คู่มือปฏิบัติการด้านระบบส่งต่อผู้ป่วย. [ออนไลน์]. เข้าได้ถึงจากhttp://www.msdbangkok.go.th/dowload%20file/manual/3.pdf

อนุชา เศรษฐเสถียร. (2559). [ออนไลน์]. สพฉ.กำหนด 10 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต. เข้าได้ถึงจาก https://www.hfocus.org/content/2016/07/12359

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21

How to Cite

boonma, kotchakorn. (2024). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 16(2), 67–81. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/272897