การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ขึ้นรูปผลิตข้าวยาคูสำเร็จรูปจากพื้นฐานภูมิปัญญา อาหารเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • Laddawan Champa -

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ขึ้นรูป , แม่พิมพ์, ข้าวยาคู

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ขึ้นรูปเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ในการผลิตข้าวยาคูสำเร็จรูปจากพื้นฐานภูมิปัญญาการใช้เครื่องมือในท้องถิ่น โดยศึกษาข้อมูลการออกแบบโครงสร้างต้นแบบอุปกรณ์ขึ้นรูปและแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปข้าวยาคู โดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการสร้างแม่พิมพ์อาหารของชุมชนร่วมกับเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกล ส่วนประกอบของตัวเครื่อง ประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบ ได้แก่ 1) โครงสร้างรองรับชุดแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปข้าวยาคู 2) ชุดแม่พิมพ์มีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ ชุดแม่พิมพ์ตัวล่างและแม่พิมพ์ตัวบน มีช่องสำหรับบรรจุข้าวยาคูมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 20 ช่อง 3) ระบบการทำความร้อนโดยใช้ฮีตเตอร์ กำลังไฟฟ้า 1,000 วัตต์ ไฟฟ้ากระแสสลับ: AC วิธีการทดสอบเพื่อหาสภาวะ                      ที่เหมาะสมในการขึ้นรูปข้าวยาคู นำข้าวยาคู จำนวน 1 กิโลกรัม ใส่ลงในแม่พิมพ์แล้วทำการกดอัดขึ้นรูป ที่สภาวะอุณหภูมิ 4 ระดับ 150, 160, 170 และ 180 องศาเซลเซียส ระยะเวลากดค้างกำหนดที่ 3, 5 และ 7 นาที  

จากการทดสอบพบว่า การขึ้นรูปข้าวยาคูที่ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 180 องศาเซลเซียส ระยะเวลากดค้างที่เหมาะสมที่สุดและเป็นที่ยอมรับจะอยู่ที่ 7 นาที ชิ้นข้าวยาคูอัดแท่งจะมีการพองตัวสูงที่สุดที่ระดับความหนา 18.72 มิลลิเมตร และค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นอยู่ในระดับร้อยละ 8 จะได้ชิ้นข้าวยาคูอัดแท่งจะมีลักษณะข้าวมีสีเหลืองอัตราการพองตัวอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถขึ้นรูปข้าวยาคูออกมาได้ 171 ชิ้นต่อชั่วโมง การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมของต้นแบบอุปกรณ์ขึ้นรูปและแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปข้าวยาคู มีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 1,048.49 ชิ้นต่อปี                มีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ .14 ปี หรือ 52 วัน  ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต้นแบบอุปกรณ์ขึ้นรูปและแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปข้าวยาคู คะแนนเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.29 คะแนน ด้วยความ
พึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

จักรินทร์ ตรีอินทอง และอ้อยทิพย์ สมานรส. (2564). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวชนิดแท่งจากปลาซิวแก้วตากแห้งเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบในจังหวัดกาฬสินธุ์”. วารสารเกษตรพระวรุณ. ปีที่ 21 ฉบับที่ 2. หน้า 96-105.

ฉวีวรรณ สุวรรณภา, อรอนงค์ วูวงศ์ และเสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล. (2560). “อาหารพื้นบ้าน: กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4. หน้า 1306-1319.

ชนิดา บุพตา และคณะ. (2562). “การศึกษาการพองตัวของข้าวด้วยเครื่องผลิตข้าวพองแบบแผ่น”. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. ปีที่ 26 ฉบับที่ 2. หน้า 37-46.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัณฑิกา มีเสน. (2563). เครื่องอัดก้อนข้าวกรอบรสต้มยำกุ้ง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.

รัชดา สาดตระกูลวัฒนา. (2552). การพัฒนาอาหารเช้าพร้อมบริโภคอัดแท่งจากธัญพืช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัช แสงสุริยฤทธิ์. (ม.ป.ป.). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี. (2560). อาหารเชิงวัฒนธรรม. กาญจนบุรี : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.

AOAC. (2000). The Official Methods of Analysis. (17th ed). Association of Official Analytical Chemists, Washington DC.

Best, J.W. (1970). Research in education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Cronbach, L.J. (1990). Essential of psychological testing. (5th ed). New York: Harper and Row.

Sharma, J.K. (2012). The structure and properties of puffed rice cake. Dissertation. Melbourne, Australia: School of civil, Chemical and Environmental Engineering, College of Science, Engineering and Health RMIT University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21

How to Cite

Champa, L. (2024). การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ขึ้นรูปผลิตข้าวยาคูสำเร็จรูปจากพื้นฐานภูมิปัญญา อาหารเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 16(2), 9–22. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/273747