กองทัพเรือกับความมั่นคงทางพลังงานของไทย

ผู้แต่ง

  • ชูศักดิ์ ชูไพฑูรย์

คำสำคัญ:

กองทัพเรือ, ความมั่นคง, ความั่นคงทางพลังงาน, thainavy, energy, security, national power

บทคัดย่อ

โลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ความมั่นคงในทุกบริบท ทั้งบริบทความมั่นคงภายใน   ความมั่นคงด้านพรมแดน ความมั่นคงในภูมิภาค และความมั่นคงในระดับโลก[1] หรือจะเรียกว่า    ความมั่นคงตามกำลังอำนาจแห่งชาติ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจ   ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งมีความสลับซับซ้อน เชื่อมโยง และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พลังงานที่เป็นที่รู้จักตั้งแต่อดีต เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ                       ได้กลายเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทั้งในการช่วยให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สะดวกสบายขึ้น ช่วยใน              การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น พลังงานจึงทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ จนศตวรรษนี้ พลังงานสามารถจัดอยู่ในบริบทของความมั่นคงอีกสาขาหนึ่งก็ว่าได้ เพราะพลังงานมีการเชื่อมโยงและเปลี่ยนแปลงกับความมั่นคงด้านอื่น ๆ เช่น เชื่อมโยงกับความมั่นคงด้านการเมือง เพราะถูกบางประเทศสามารถใช้เป็นเหตุผลทางการเมือง แล้วเข้าไปทำสงครามยึดครองอีกประเทศหนึ่งได้       เช่น อิรักเข้ายึดครองคูเวต ในปี ค.ศ. 1990[2] หรือในกรณีรัสเซียใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับ  กลุ่มประเทศยุโรป เพราะยุโรปต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งก๊าซและน้ำมันจากรัสเซีย เป็นต้น ในส่วนประเทศไทยนับตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาประเทศ จากเน้นเกษตรกรรมเป็นหลักไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม ได้มีการใช้พลังงานทั้งถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเพื่อพัฒนาประเทศ              มาโดยตลอด แต่เป็นไปในรูปแบบการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถผลิตหรือนำเข้าพลังงานแล้ว ย่อมกระทบกับความความมั่นคงของประเทศ รวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างแน่นอน

               กองทัพเรือนอกจากจะมีภารกิจหลักในการรักษาเอกราชอธิปไตยและความมั่นคงทางทะเลแล้ว ยังมีหน้าที่ในการช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอีกด้วย ดังนั้น ในบทความนี้จะได้กล่าวเกี่ยวกับประเทศไทยกับความมั่นคงทางพลังงาน และบทบาทของกองทัพเรือที่ช่วยให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และในอนาคต

 

      

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-14