ส่วนผสมทางการตลาดของธุรกิจในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน: มุกดาหาร
คำสำคัญ:
การตลาด, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, marketing, economic zoneบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางการตลาด ส่วนผสมทางการตลาด
และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อส่วนผสมทางการตลาดของธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร การศึกษานี้ใช้การวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกหอการค้าจังหวัดมุกดาหารที่ได้ทำแบบสอบถามครบถ้วนสมบูรณ์ 101 ชุด ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก
ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชาย อายุ 31-40 ปี ประกอบธุรกิจค้าปลีก ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าสภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมเป็นโอกาสอยู่ใน “ระดับมาก” และเป็นอุปสรรค
อยู่ใน “ระดับน้อย” สำหรับสินค้าที่ขายดีคืออาหาร ส่วนใหญ่ใช้การค้าปลีก ใช้การโฆษณา และตั้งราคาโดยเพิ่มจากต้นทุน อนาคตทางธุรกิจหลังการประกาศเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ความคิดเห็น ต่อความพึงพอใจในส่วนผสมทางการตลาดทั้ง 7 องค์ประกอบโดยรวมอยู่ใน “ระดับมาก” ลูกค้ามาซื้อสินค้าเนื่องจากคุณภาพบริการและชื่อเสียงร้านค้าในระดับ “มากที่สุด” การวิจัยคุณภาพยังพบว่าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรพัฒนารูปแบบ เขตนี้ต้องการรถไฟ ถนน และศูนย์ขนถ่ายสินค้า เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าเขตเศรษฐกิจใหม่นี้ต้องการรูปแบบมาตรการภาษีใหม่ที่จูงใจนักลงทุน พร้อมทั้งทางรถไฟ ถนน และศูนย์การกระจายสินค้า พัฒนาสินค้าไทยที่มีมาตรฐาน มีตราสินค้าไปขายต่างประเทศ ผ่านช่องทางการค้าชายแดนบนช่องทางระเบียงเศรษฐกิจนี้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด