ความเป็นพลเมืองกับการบริหารจัดการตนเองของชุมชนไทย
คำสำคัญ:
ความเป็นพลเมือง (Citizenship), การบริหารจัดการตนเองของชุมชน (Community Self-governance)บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง “ความเป็นพลเมืองกับการบริหารจัดการตนเองของชุมชนไทย”เป็นการศึกษาข้อมูลโดยการทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมืองและการบริหารจัดการตนเองของชุมชน ประกอบกับการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากตัวอย่างชุมชนที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการตนเอง 15 ชุมชน นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อสรุปกรอบแนวคิดในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองภายใต้การบริหารจัดการตนเองของชุมชนไทย
ทั้งนี้ สามารถสรุป “รูปแบบการบริหารจัดการตนเองของชุมชน” ประกอบด้วย 4 เงื่อนไขสนับสนุน 3 กลไก 3 กระบวนการ 4 เครื่องมือ และ 4 เป้าหมาย/ผลลัพธ์ รวมทั้งสามารถสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายและคุณลักษณะที่ดีของความเป็นพลเมือง (Civic Virtue) ในเชิงทฤษฎีได้ดังนี้
ความเป็นพลเมืองในบริบทของการบริหารจัดการตนเองของชุมชน หมายถึง ความเป็นพลเมืองในมิติของการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชุมชนหรือสังคม โดยพลเมืองเป็นผู้ที่มี “คุณลักษณะที่ดีของความเป็นพลเมือง” (Civic Virtue) หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่แสดงให้เห็นถึงการมีจิตสำนึก การยึดถือคุณธรรมหรือจริยธรรม และมีการกระทำหรือพฤติกรรมของความเป็นพลเมืองเพื่อสังคมส่วนรวม คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ของตนเอง
คุณลักษณะที่ดีของความเป็นพลเมือง (Civic Virtue) ประกอบด้วยคุณลักษณะหลัก 4 ด้าน ได้แก่
- 1. คุณลักษณะเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 3 ประการ ได้แก่ ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง การมีส่วนร่วมในชุมชนหรือสังคม และการเคารพกฎและกติกาของชุมชนหรือสังคม
- 2. คุณลักษณะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมของพลเมือง ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 4 ประการ ได้แก่ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การพึ่งตนเองและการพึ่งพากันภายในชุมชน และการยึดหลักภราดรภาพ
- คุณลักษณะเกี่ยวกับคุณธรรมความเป็นพลเมือง ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 3 ประการ ได้แก่ การมีจิตสำนึกสาธารณะ ความมีเหตุผล และการยึดถือคุณธรรมเพื่อส่วนรวม
- 4. คุณลักษณะเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองเพื่อการพัฒนา ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 5 ประการ ได้แก่ การมีลักษณะของความเป็นผู้นำ การรู้จักและเข้าใจตนเอง ความกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและความผิดหวัง การมีความคิดที่ริเริ่มสร้างสรรค์ และการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่
ABSTRACT
This article has the main purpose to study citizenship and self-governance of
Thai communities by reviewing the theoretical concepts related to citizenship, community self-governance and examine secondary data of 15 best practice of Thai communities leads to summarize the theoretical framework about citizenship, under the self-governance of Thai’s communities.
The study found the elements of community self-governance include: 4 conditions,
3 mechanisms, 3 processes, 4 tools and 4 goals/results, and can create the conclusion about the meaning and characteristics of “Civic Virtue” as follows:
Citizenship in the context of community self-governance is a citizen in the sense of coming together as a group, community or society. A citizen is someone who has "the great feature of citizenship" or civic virtue means a feature that demonstrate consciousness, upholding moral or ethical and have actions or behavior for the public interest.
Civic Virtue consists of main features are :
- Features on the rights and duties of citizens consist of three sub-features include: the understanding of the rights and duties of citizens, participation in community or society and to respect the rules of the community or society.
- 2. Features on the social interaction of citizens consist of four sub-features include:
a sense of community belonging, interaction with others, self-reliance or interdependence within the community and upholding the principle of brotherhood. - Features on the moral or ethical of citizens consist of three sub-features include: public mind/public consciousness, rationality and upholding moral or ethical for the public interest
- Features on the citizenship for development consist of five sub-features include: leadership, self-awareness, dare to confront problems and disappointment, creative thinking and open mind to learn new things
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด