แนวทางการบูรณาการพลังอำนาจของชาติด้านการทหาร เข้ากับพลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆ

ผู้แต่ง

  • manat wongwat

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                   “การเอาชนะศึกสงครามด้วยการมีศักยภาพทางการทหารที่เหนือกว่า” คือ ความจริงที่ปรากฏในทางการทหารมาแต่ดั้งเดิม  อย่างไรก็ตาม การศึกสงครามได้เปลี่ยนรูปแบบอย่างต่อเนื่องตามพัฒนาการ/การเปลี่ยนแปลงของโลกนับตั้งแต่ยุคหิน ยุคโลหะ ยุคสังคมการเกษตร ยุคอุตสาหกรรมและก้าวสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน

                      สภาพภัยคุกคามทั้งภัยคุกคามดั้งเดิมและภัยคุกคามรูปแบบใหม่/ความท้าทายส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะความท้าทายในสังคมโลกยุคใหม่นั้นมีความซับซ้อนมากขึ้นภายใต้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแสวงประโยชน์และสร้างพลังอำนาจการแข่งขันของแต่ละประเทศและ/หรือแต่ละกลุ่มประเทศมากขึ้น อนึ่ง กองทัพไทยหรืออีกนัยหนึ่งในฐานะของกองทัพหนึ่งของ ASEAN ตลอดจนกองทัพของประเทศในกลุ่มประเทศ ASEAN ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงใช้เครื่องมือดั้งเดิมที่เริ่มต้นด้วยทฤษฎีหลักการเกี่ยวกับการศึกสงครามและ/หรือการใช้กำลังทหารสำหรับเข้าทำศึกสงครามและ/หรือใช้กำลังทหารตามรูปแบบเดิมเข้าเผชิญต่อการคุกคามจากภายนอก ซึ่งวิธีการเช่นนี้อาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต  ยิ่งมองลึกลงลงไปถึงต้นทุนของกองทัพแต่ละกองทัพด้วยแล้วดังกล่าวกองทัพของประเทศไทยและของทัพของประเทศ ASEAN เกือบทั้งหมดใช้วิธีการนำเข้าองค์ความรู้ภูมิปัญญา/เทคโนโลยี/นวัตกรรมทางทหารมาจากต่างประเทศ(จากประเทศมหาอำนาจ)มาสร้างศักยภาพพลังอำนาจการทหารให้เกิดมีกับตนทั้งสิ้น  และใช้ศักยภาพจากพลังอำนาจของชาติด้านการทหารที่ได้มาดังกล่าวในการป้องกันรักษาความปลอดภัยรวมถึงใช้ในการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของตนโดยมิได้ทำการคิดค้นวิจัยผลิตสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางทหาร/เทคโนโลยี/นวัตกรรมทางทหารขึ้นมาด้วยตนเองมากนักซึ่งส่วนใหญ่แล้วองค์ความรู้ภูมิปัญญา/เทคโนโลยี/นวัตกรรมทางทหารมาจากต่างประเทศก็ใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากมันมิได้เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่เกิดมีขึ้นในตนเอง   บริบทเช่นนี้จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการ ศึกษาและค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการบูรณาการพลังอำนาจของชาติด้านการทหาร เข้ากับพลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆ เพื่อให้ประเทศไทย(รวมถึงชาติในASEAN)สามารถสถาปนาศักยภาพทางการทหารที่แข็งแกร่งเป็นของตนเองพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประเทศไทยและต่อความรับผิดชอบด้านประชาคมการเมืองความมั่นคงของประชาคมอาเซียน   โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการทำการศึกษาวิเคราะห์จากประสบการณ์ ทฤษฎี/หลักวิชาการ เอกสารราชการ วารสาร และแบบอย่างของต่างประเทศ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทหลักของพลังอำนาจของชาติในแต่ละ

                      บทสรุปที่สำคัญซึ่งได้จากการวิจัย คือ การบูรณาการพลังอำนาจของชาติด้านการทหารเข้ากับพลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆ นั้นสามารถสรุปอย่างเป็นเอกฉันท์ได้ว่าสามารถตอบคำถามในภาพรวมได้ทั้งหมด   ทั้งตัวแบบองค์ประกอบสำคัญของพลังอำนาจของชาติด้านการทหาร ได้แก่  องค์ความรู้  กำลังรบ  ศักย์สงคราม     การกำหนดองค์ประกอบสำคัญพลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับพลังอำนาจของชาติด้านการทหาร อาทิ ทฤษฎีต่างๆ  รวมไปถึงการกำหนดแนวคิดใน
การบูรณาการโดยอาศัยการคิดค้นเครื่องมือพิเศษมาใช้  เครื่องมือพิเศษ๓ ประการได้แก่  เจตนารมณ์  วิชาการ  กลไก เป็นที่ยอมรับและมีความเป็นไปได้   โดยพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นความจำเป็นในเบื้องต้นที่ทหาร(กองทัพ)ในฐานะเป็นเจ้าภาพหลักด้านพลังอำนาจของชาติด้านการทหารควรต้องเร่งสถาปนาศักยภาพทางการทหารของประเทศให้เกิดความแข็งแกร่งภายใต้การบูรณาการกิจการหรือการประกอบการของภาคส่วนของพลังอำนาจของชาติด้านการทหารเข้ากับกิจการหรือการประกอบการภาคส่วนของพลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆ ที่มีอยู่ภายในประเทศอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

                   ท้ายที่สุดและสำคัญที่สุดก็คือทหารจำเป็นต้องยกระดับตนเองให้มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบการสถาปนาศักยภาพทางการทหารในวัตถุประสงค์หลักเพื่อความอยู่รอดในทุกสภาวะแวดล้อม ทั้งในภารกิจการป้องกันประเทศและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยรวมไปถึงภารกิจการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ 

Abstract

 

                                                                                To win the war with the exceeded potential military power than other opponents is the truth and has been realized in military history. However, the war has been transforming continuously under the dynamic revolution since stone age, bronze age, iron age, agricultural age, industrial age and information age.

                   The possible threats to the nation are not only traditional threats but also non-traditional threats which is undoubtedly affecting the national interest. Together with, the existing global challenges are more sophistication of Information Communication and Technology (ICT) which every nation and/or union is now trying to utilize ICT in order to maximize benefits for national competitiveness and national sustainable power. Royal Thai Armed Force; on the other hand, one of the military force in ASEAN has not yet employed the new approaches to cope with such emerging threats but being experience with the traditional tools especially training to win the small battle in the border conflict. By this reason, the traditional tools are not suitable for existing and future environment.

                   The research objectives are to study and to identify the coherent integration model between military power and other significant national power of Thailand in order to establish the strong and compact military power enough for the national development and the ASEAN APSC (ASEAN Political-Security Community) alignment. The quality survey research is conducted by collecting, structing, analyzing and synthesising from ground based  theory, mlitary theory, research papers and practical international model; together with, the intensive interview of key representatives from other significant national power. The critical findings are able to catagerize threats and challenges in four parts including (1) Traditional threats (2) Non-Traditional threats focusing on domistic threats (3) Other emerging traditional threats and (4) Security challenges.

                   In conclusion, the coherent integration model between military power and other significant national power of Thailand is entirely acceepted that it can be systematically utilized to encounter the existing and future environment with recognition of emerging threats and adaptive challenges. The model consists of three major components including (1) Body of Knowledge (2) Military Force and (3) War Potential which will be the framework for other national power to identify issues related to military power. There are three appropriate integration tools including (1) Intention (2) Knowledge Utilization and (3) Mechanism. Therefore, the military must immediately establish the strong and compact military power by the integration with other significant national power.

                      Lastly and significantly, military must adapt itself being responsible to establish strong and compact military power in order to survive under all unstable circumstance not only to safeguard the nation but also to secure the nation and to protect the national security.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-03