การจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ : บทเรียนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยภาคใต้ 2560

ผู้แต่ง

  • กอบชัย บุญอรณะ

คำสำคัญ:

สาธารณภัยขนาดใหญ่, อุทกภัย, กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ, ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.), การเฝ้าระวังและการแจ้งเตือนภัย, การรับมือเผชิญเหตุ, การบรรเทาภัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

อุทกภัยภาคใต้ในห้วงเดือนธันวาคม 2559 – มกราคม 2560  ถือเป็นเหตุการณ์อุทกภัยที่รุนแรงมากช่วงหนึ่งของประเทศไทย นับจากเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 โดยมีสาเหตุสำคัญจากสภาพอากาศที่แปรปรวนหลายช่วงติดต่อกัน จึงทำให้เกิดฝนตกหนักหลายครั้งต่อเนื่อง ประกอบกับพื้นที่ตอนกลางของภาคใต้เป็นเทือกเขาสูง มีถนนสายหลักทอดยาวตามแนวเขา
จึงขวางทางไหลของน้ำจากเทือกเขาลงสู่ทะเล  รวมทั้งปัญหาสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางน้ำต่างๆ เป็นต้น  ส่งผลให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เอ่อล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนและความสูญเสียต่อชีวิตเป็นจำนวนมาก

รัฐบาลได้ตัดสินใจยกระดับการจัดการสาธารณภัยจากระดับ 2 ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ เป็นสาธารณภัยระดับ 3 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะ
ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ กำกับควบคุมอำนวยการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ที่กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  มีการจัดตั้งกองบัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานีและ เขต 12 สงขลา  เพื่อกำกับควบคุมพื้นที่ สนับสนุนการปฏิบัติ ประสานจัดสรรกำลังเจ้าหน้าที่และทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถแก้ไข ปัญหาในพื้นที่อย่างรวดเร็ว และจัดตั้งระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) รวม 14 ส่วนงาน เพื่อช่วยเหลือบริหารจัดการอุทกภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นครั้งแรกที่ได้มีการยกระดับการจัดการสาธารณภัย ตั้งแต่มีแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา  ถือเป็นบททดสอบสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉิน ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ และมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างที่จะต้องนำมาทบทวน ปรับปรุง แผนบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถรองรับกับสาธารณภัยขนาดใหญ่ของประเทศในครั้งต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25