ปัญหาในกฎหมายค้ำประกันภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20 และฉบับที่ 21

ผู้แต่ง

  • นาย กมกฤช เทียนทัด

คำสำคัญ:

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, ค้ำประกัน, ลูกหนี้ร่วม, การบอกกล่าว, ผิดนัด

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 และวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 ตามลำดับ ได้แก้ไขกฎหมายค้ำประกันหลายประการด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันมากขึ้น สาระสำคัญของการแก้ไขกฎหมายค้ำประกันในครั้งนี้ อาทิ การแก้ไขรายละเอียดในสัญญาค้ำประกันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลดภาระของผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดโดยไม่จำ กัดจำนวนและระยะ
เวลา แก้ไขความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในสัญญาค้ำประกันโดยกฎหมายบัญญัติให้ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วม หรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมการบอกกล่าวผู้ค้ำประกันทราบภายใน 60 วันนับแต่ลูกหนี้ผิดนัด เป็นต้น ทั้งนี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คณะผู้วิจัยพบปัญหาในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายใหม่อยู่บางประการจึง
ได้รวบรวมปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไว้เป็นข้อสังเกตบางประการเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เผยแพร่แล้ว

2019-05-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ