ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของวิกฤต การบินพลเรือนของไทย
คำสำคัญ:
การบินพลเรือน, ธงแดง, มาตรฐาน ICAO, การวิเคราะห์รากของปัญหา, แผนผังสาเหตุและผลบทคัดย่อ
จากการที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ได้ตรวจสอบการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยให้กับกรมการบินพลเรือน (บพ.) และได้ปรับลดระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบิน ด้วยการประกาศติด “ธงแดง” ให้กับประเทศไทยทางเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ทำให้หน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐานการบินพลเรือนของภูมิภาคอื่น ๆ ขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนของไทย และได้เข้ามาตรวจสอบกรมการบินพลเรือนของไทย เช่น สำนักงานบริหารองค์กรการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration: FAA) ได้เข้ามาตรวจสอบ และได้ประกาศลดระดับมาตรฐานความปลอดภัยการบินพลเรือนของไทยเช่นกัน ส่งผลให้สายการบินสัญชาติไทยไม่สามารถบินเข้าน่านฟ้าสหรัฐอเมริกาได้ และในระยะยาวอาจกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศหากไม่รีบดำเนินการอย่างถูกต้อง ในการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนจำเป็นต้องแก้ไขที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการบินพลเรือนของไทยอย่างแท้จริงจำนวน 10 คน ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Cause Analysis: RCA) โดยใช้แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำเกิดวิกฤต “ธงแดง” ได้แก่ (1) การให้ความสำคัญกับการบินพลเรือนของภาครัฐ (2) กระบวนการออกกฎและระเบียบ (3) ข้อบกพร่องที่ตรวจพบโดย ICAO (4) โครงสร้างของ บพ. (5) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (6) ผู้นำองค์กร และ (7) ระบบสารสนเทศภายในองค์กร
References
[2] Record of Discussions. FAA’s Audit Report. October 27-28, 2015.
[3] European Aviation Safety Agency (EASA). Retrieved 20th October 2015 from https://www.easa.europa.eu
[4] Convention on International Civil Aviation. Retrieved 20th October 2015 from www.icao.int/publications/pages/doc7300.aspx
[5] พระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558.
[6] คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 27/2558 เรื่องการแก้ไขปัญหาการกำกับดูแลและพัฒนาการบินพลเรือนของประเทศไทย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด