ปัจจัยการคงอยู่ในงานต่อความผูกพันต่อองค์การของอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การคงอยู่ในงาน,ความผูกพันต่อองค์การ,การถดถอยพหุคูณวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบถ่วงน้ำหนักบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคงอยู่ในงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้าที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากประชากรอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้าทั้งหมดจำนวนจำนวน 1,382 คนได้แบบสอบถามครบถ้วนสมบูรณ์ 434 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted Least Squares Regression Analysis) และสถิติ T-Test กับ F-Test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุช่วง 51-60 ปี ประเภทของตำแหน่งลูกจ้างประจำ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษามัธยมปลาย หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระยะทางจากที่พักถึงที่ทำงานมากกว่า 25 กิโลเมตร วิธีการเดินทางทำงานด้วยวิธีรถยนต์ และอายุการทำงานกับองค์การช่วง 21-30 ปีการศึกษาการคงอยู่ในงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้าด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบถ่วงน้ำหนัก พบว่าค่าตอบแทน การสนับสนุนของหัวหน้า การฝึกอบรมและพัฒนา ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน การพัฒนาสายอาชีพ การเดินทางเพื่อไปทำงาน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้าที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ บุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ประเภทของตำแหน่ง สถานภาพสมรส ระยะทางจากที่พักถึงที่ทำงาน และอายุการทำงานกับองค์การ ที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าองค์การควรพัฒนาปัจจัยการคงอยู่ในงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การให้เพิ่มขึ้นและนำผลจากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์การได้อย่างยาวนาน ได้แก่ การรักษาบุคลากรที่มีความสำคัญต่อองค์การ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด