อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
คำสำคัญ:
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การปล่อยชั่วคราว, จำเลยบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในชั้นพิจารณา อย่างมีประสิทธิผล คุ้มค่า ได้แก่ ความคุ้มค่าทางด้านงบประมาณ ประสิทธิผลที่ได้รับ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการรักษาผลประโยชน์ของชาติ และนำมาสรุปเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาแก่สำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นการศึกษาแนวคิด การวิเคราะห์การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย ด้านงบประมาณ สิทธิเสรีภาพของประชาชน การยอมรับของผู้ต้องหาหรือจำเลย การวิจัยจะเน้นหลักการนำสถิติที่ได้มาและเปิดเผยได้มาวิเคราะห์ ขอบเขตด้านประชากรได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา หัวหน้าคณะในศาลอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของศาลอาญา ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Research) ร่วมกับใช้การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Context Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎีต่าง ๆ การนำเสนอข้อมูล นำเสนอข้อมูลแบบรายงานวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ นำเสนอผลที่ได้จากการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความคุ้มค่าทางด้านงบประมาณและด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งยังไม่มีความผิด ผู้วิจัยเห็นว่า การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติซึ่งประชาชนที่มีฐานะยากจนได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย และประเทศชาติก็ไม่มีคนล้นคุกที่ก่อให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน ผลการวิจัยจะทำให้สำนักงานศาลยุติธรรม มีแนวทางการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย มาใช้อย่างเหมาะสมทั้งด้านสิทธิมนุษยชน งบประมาณ และผลประโยชน์ที่จะได้รับของประชาชน ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด