แนวทางพัฒนาการใช้อากาศยานไร้คนขับช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

ผู้แต่ง

  • สุพิจจารณ์ ธรรมวาทะเสรี ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ

คำสำคัญ:

สาธารณภัย, การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ, อากาศยานไร้คนขับ, โดรน, การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันภัยพิบัติจากสาธารณภัยโดยเฉพาะภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง  เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างจำเป็นต้องช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว และมีการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจนี้อย่างแพร่หลายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เพราะมีศักยภาพสูงในการปฏิบัติภารกิจโดยใช้คุณลักษณะกำลังทางอากาศและคุณลักษณะเด่นของอากาศยานไร้คนขับคือ Dull, Dirty และ Dangerous ตลอดจนการได้ภาพมุมสูงที่เป็น Real Time Digital Format ทำให้เห็นภาพกว้างของสถานการณ์ในพื้นที่ประสบภัย พร้อมกับส่งข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กแบบขึ้น/ลงทางดิ่ง (VTOL) จะมีความคล่องตัวสามารถนำติดตัวไปกับทีมค้นหาและกู้ภัย โดยมีข้อจำกัดการบินในพื้นที่ประสบภัยและสภาพอากาศน้อยกว่าอากาศยานปกติ แต่จะมีข้อจำกัดในด้านสมรรถนะ

          แนวทางการพัฒนาแนวทางการใช้อากาศยานไร้คนขับช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัตินั้น จะต้องบูรณาการปฏิบัติภารกิจร่วมกับอากาศยานปกติของกองทัพอากาศ, ดาวเทียม และอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน โดยใช้หลักการปฏิบัติต่อเป้าหมายแบบพันธกิจ Dynamic Targeting การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) เป็นแนวทางการปฏิบัติภารกิจ และจะต้องจัด Mission Commander จากกองทัพอากาศเป็นผู้วางแผนการปฏิบัติการทางอากาศในภาพรวม เพื่อให้เกิดเป็นปัจจัยทวีกำลัง (Force Multiplier)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30