แนวทางการบูรณาการยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Wilas Chaloeysat MPE

คำสำคัญ:

พลังงานไฟฟ้า, ความมั่นคง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานและกระทรวงมหาดไทย กับนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญ
ของประเทศ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และช่องว่างของนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เชื่อมโยง
และสอดรับกัน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า

                 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญในภาคพลังงาน และเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับหลักการ แนวคิด และแนวทางในการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการบริหารราชการ
แบบบูรณาการ จากนั้นเป็นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อสรุปและเสนอแนวคิดในการเสริมสร้าง
ความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า

                 จากการศึกษาพบว่า แผนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP2018) แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP2015) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP2015) มีการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 และยุทธศาสตร์ที่ 5 ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การผลิตและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาและอุปสรรคในการปฎิบัติงาน ส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายและความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า

                 ปัญหาหลักคือ ความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า การจัดหากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่ไม่เป็นไปตามแผน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกและ
การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป ส่งผลให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้า และกระทบต่อมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าในที่สุด

                 ข้อเสนอแนะคือการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อสร้างการยอมรับของประชาชนต่อการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ตามแผน PDP2018 และการแก้ไขปัญหา
ระยะยาวโดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านมาตรการการตอบสนองด้านโหลด
(Demand Respond)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30