แนวทางการดำเนินคดีความผิดฐานลักทรัพย์ที่กระทำกับสินทรัพย์ดิจิทัล และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • pruchya sriampornsang ndc

คำสำคัญ:

การดำเนินคดี, ความผิดฐานลักทรัพย์, สินทรัพย์ดิจิทัล, ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินคดีอาญาฐานลักทรัพย์ที่กระทำกับสินทรัพย์ดิจิทัลหรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษา
แนวทางการดำเนินคดีในต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตการวิจัยมุ่งเน้นศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินคดีอาญาความผิดฐานลักทรัพย์เป็นสำคัญ โดยการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากวิธีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิด้านการดำเนินคดีอาญา พิจารณาประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะอาชญากรรมในปัจจุบันมีทั้งที่มุ่งกระทำต่อตัวสินทรัพย์ดิจิทัลและข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะการแย่งกรรมสิทธิ์จากเจ้าของ และการลักลอบแอบทำสำเนาหรือนำข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ล่วงรู้ไปใช้แสวงหาประโยชน์อย่างอื่น ปัจจุบันบทบัญญัติกฎหมายและแนวทางวินิจฉัยของศาลยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนผู้บังคับใช้กฎหมายบางส่วนจึงเลือกนำความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบมาใช้บังคับแก่กรณี อย่างไรก็ดี ความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบและความผิดฐานลักทรัพย์มีองค์ประกอบกฎหมายและอัตราโทษที่แตกต่างกัน รวมทั้งอำนาจของพนักงานอัยการในการเรียกคืนทรัพย์สินหรือให้ใช้ราคาก็แตกต่างกัน สำหรับตัวอย่างการดำเนินคดีในต่างประเทศมีทั้งกลุ่มประเทศที่บัญญัติความผิดฐานลักทรัพย์ให้ครอบคลุมถึงทรัพย์บางประเภทที่ไม่มีรูปร่าง และกลุ่มประเทศซึ่งมีการบัญญัติเป็นความผิดฐานเฉพาะที่มิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์

          ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ในด้านการปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับความผิด ควรผสมผสานแนวทางการกำหนดคำนิยามศัพท์ของคำว่า “ทรัพย์” และคำว่า “ทรัพย์สิน”ไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้ครอบคลุมวัตถุแห่งการกระทำที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลหรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง ควบคู่ไปกับแนวทางการกำหนดเป็นฐานความผิดเฉพาะเพื่อให้ครอบคลุมการกระทำความผิดบางประการซึ่งไม่เข้ากรณีที่เป็นการกระทำที่เป็นการตัดกรรมสิทธิ์จากผู้เป็นเจ้าของอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ พร้อมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (ที่แก้ไขเพิ่มเติม) ในด้านการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาวิจัยต่อยอดเพิ่มเติมเพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 สอดคล้องกับรูปแบบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งกระทำกับสินทรัพย์ดิจิทัลและข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน

References

“ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ Update ล่าสุด)”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www. krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=pdf, 2563.
“พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561”, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135
(ตอนที่ 33 ก), 13 พฤษภาคม 2561, หน้า 43-70.
“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560”,
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 (ตอนที่ 10 ก), 24 มกราคม 2560, หน้า 24–35.
“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://app-
www.thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=law2&folderNa
me=%c771&lawPath=%c771-20-9999-update, 2562.
“พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด)”.
(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=
570721&ext =htm, 2563.
พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.), สำนักงาน. “รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2561”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www. etda.or.th/publishing-detail/value-of-e-commerce-survey-in-thailand-
2018. html, 2563.
สมศักดิ์ เธียรจรูญกุล. “รายงานการวิจัย เรื่อง มาตรการทางกฎหมายอาญาในการคุ้มครอง ข้อมูลคอมพิวเตอร์”.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://www.ird.stou.ac.Th/Researchlib/uploads/2561_048/2561_048.pdf,
2559.
สมศักดิ์ เธียรจรูญกุล. “รายงานการวิจัย เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามประมวล กฎหมายอาญา” . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.ird.stou.ac.th/ Researchlib/uploads/2558_002/fulltext.pdf, 2558.
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “โครงการศึกษาเรื่อง
การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล รายงานฉบับสมบูรณ์”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.law.chula.ac.th/publishing/3403/, 2563.
“10 อันดับสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าสูงสุด”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://medium.com/
bitkub/cryptocurrency-blockchain-bitcoin-top10-marketcap-value-fca2549 dd9fb, 2563.
“Penal Code (Act No.45 of 1907)”. (Online). Available : http://www.cas.go.jp/jp/seisaku /hourei/data/PC.pdf, 2020.
“Penal Code of Japan”. (Online). Available : http://www.cas.go.jp/jp/seisaku/ hourei/data/PC.pdf, 2020.
“Uniform Fiduciary Access to Digital Assets Act (UFADAA) and Digital Assets”. (Online). Available : http://content.aba.com/briefings/3012911.pdf,
2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-11