อนาคตโลกจะเป็นอย่างไร: เมื่อสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญาการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์พิสัยปานกลาง

ผู้แต่ง

  • Sittichai Tangjai RTN

คำสำคัญ:

สนธิสัญญาการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์พิสัยปานกลาง, กับดักธูสิดีดิส, นโยบายอเมริกามาก่อน, การแข่งขันสะสมอาวุธ, สัจนิยม

บทคัดย่อ

การประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญาการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์พิสัยปานกลาง (Intermediate-range Nuclear Forces Treaty: INF) โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แสดงให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ซึ่งการประกาศถอนตัวฯ นี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางทหารและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของโลก ที่สื่อถึงสถานการณ์การก้าวเข้าสู่
การเปลี่ยนแปลงมหาอำนาจโลกเป็นแบบหลายขั้วอำนาจ  บทความได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการลดแรงตึงเครียด จากการติดตั้งและการพัฒนาขีดความสามารถด้านอาวุธนิวเคลียร์แบบตอบโต้กันไปมาระหว่างฝ่ายโลกตะวันตกและตะวันออกในภาคพื้นยุโรป ซึ่งความสำเร็จในการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติยุคสงครามเย็นในเวลาต่อมา พร้อมทั้งยังได้นำบทเรียนในอดีตของ “กับดักธูสิดีดิส” ที่ได้ศึกษาถึงสาเหตุของสงครามบนคาบสมุทรกรีกระหว่างรัฐสปาร์ตาในฐานะมหาอำนาจดั้งเดิมกับรัฐเอเธนส์ซึ่งเป็นมหาอำนาจเกิดใหม่ ด้วยเหตุผลของความหวาดกลัวต่อการสูญเสียอำนาจของรัฐสปาร์ตา ซึ่งบทความได้เปรียบเทียบกับการแสวงหาอำนาจและขยายขีดความสามารถทางทหารของสหรัฐฯ ตามนโยบายระหว่างการหาเสียงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ว่า “อเมริกามาก่อน” (America First) โดยอาจหันกลับมาดำเนินนโยบายระหว่างประเทศด้านอาวุธนิวเคลียร์ด้วยการ “สะสมอาวุธ” แทนการ “ควบคุมอาวุธ” โดยมีเหตุผลเพื่ออำนาจและความอยู่รอดของสหรัฐฯ ตามหลักทฤษฎีสัจนิยม และสุดท้ายเป็นการนำเสนอและเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดการป้องปรามกับปัจจัยพิจารณาการแข่งขันสะสมอาวุธของประเทศคู่ปรปักษ์ อันเป็นผลมาจากสาเหตุความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และความต้องการของรัฐที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหาร เพื่อเป็นหลักประกันถึงความปลอดภัยของตนเอง

References

จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ ๑๔๑-๑๔๒ หัวข้อเรื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในโลกที่เปลี่ยนแปลง, ๒๕๕๗
จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ ๑๙๒-๑๙๓ หัวข้อเรื่อง สถานการณ์โลกและความท้าทายโลกในปี ๒๐๑๙, ๒๕๖๒
บทความเรื่อง กลับสู่ยุคสงครามเย็น-นโยบายนิวเคลียร์ของทรัมป์ โดย สุรชาติ บำรุงสุข ในนิตยสารมติชนออนไลน์ เมื่อ ๒๖ ต.ค.๒๕๖๑ ผ่านทาง https://www.matichon.co.th/ columnists/news-1195215
บทความเรื่อง มะกันถอนตัวสนธิสัญญา INF พลิกโฉมภัยคุกคามนิวเคลียร์ โดย บรรณาธิการข่าวต่างประเทศในไทยรัฐออนไลน์ เมื่อ ๒ ก.พ.๒๕๖๒ ผ่านทาง https://www. thairath.co.th/news/foreign/1491106
บทความเรื่อง “The Thucydides Trap: Are the US and China headed for War?” ในวารสาร The Atlantic ในปี ๒๐๑๕ และหนังสือเรื่อง Destined for War: Can America and China Escape Thucydides’s Trap? (2017) โดย Graham Allison
บทความวิชาการ หัวข้อเรื่อง รากฐานความคิดทางการเมืองระหว่างประเทศของกองทัพเรือสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ : ทฤษฎีสัจนิยมและเสรีนิยม โดย น.อ.หัสไชยญ์ มั่งคั่ง ในการประชุมวิชาการของกองทัพเรือ ครั้งที่ ๑๐ เมื่อ ๒๕ ก.ค.๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมบริพัตร อาคาร สรส.ยศ.ทร.
หนังสือเรื่อง โดนัลด์ทรัมป์ ประธานาธิบดีผู้ท้าทายโลก โดย กิตติ โล่เพชรรัตน์, สำนักพิมพ์ แอร์โรว
http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-12284532, 26 January 2011
โกวิท วงศ์สุรรัตน์, Matichon Online, ๑๙ กรกฏาคม ๒๕๖๐ – ๑๓:๕๒ น.
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์, กำเนิดสงครามเย็นใหม่, กรุงเทพธุรกิจ, อาทิตย์ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๓
ศิริสุดา แสนอิว, อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ กรกฏาคม – ธันวาคม ๒๕๕๗
John Mearsheimer, “Structural Realism”, in Tim dunne, Milja Kurki and Steve Smith (eds.), International Relations Theories: Discipline and Diversity, New York: Oxford University Press, 2007

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-11