แนวทางการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย
คำสำคัญ:
ศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติ, เวชศาสตร์ชะลอวัยบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยของประเทศไทยและต่างประเทศ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบดังนี้
ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ในการการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยในภูมิภาค ประเทศไทยมีศักยภาพและมีความพร้อม ด้านการบริการ การต้อนรับ คุณภาพบุคลากร ความทันสมัยของเทคโนโลยี และมีสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานJCI ที่มากกว่าประเทศคู่แข่งในอาเซียน รวมทั้งราคาการให้บริการต่ำกว่าประเทศอื่นเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้ แต่อย่างไรก็พบปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญได้แก่ 1) โรงพยาบาลขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง 2) โรงพยาบาลใช้งบประมาณที่สูงมากในการลงทุนด้านเทคโนโลยีชั้นสูง 3) นโยบายของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่มุ่งเน้นการรักษาโรคมากกว่าการดูแลสุขภาพ 4) การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวม และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5) การแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศในภูมิภาคในการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ และ 6) กฎหมายในปัจจุบันที่ยังไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจศูนย์กลางการแพทย์นานาชาติด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติด้าน เวชศาสตร์ชะลอวัยของประเทศไทยและต่างประเทศ ที่เป็นผลจากการศึกษามีดังนี้คือ 1) ภาครัฐต้อง ประกาศให้เป็นนโยบายสำคัญของประเทศ ให้เป็นที่ทราบทั่วกัน 2) ภาครัฐมีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อรับผิดชอบการบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเฉพาะด้าน 3) มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 3) มีการจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) มีการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 5) มีระบบการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลแบบสากล
แนวทางการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติด้านเวช ศาสตร์ชะลอวัย ได้แก่ 1) ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ 2) มีการให้แรงจูงใจแก่โรงพยาบาลให้สนับสนุนการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาชีพเพื่อการบริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพ 3) ภาครัฐส่งเสริมให้สร้างชื่อเสียงด้านการบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงและได้การรับรองมาตรฐานระดับสากล 4) โรงพยาบาลมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย 5) การให้บริการที่มีคุณภาพแบบไทยๆมาสร้างความแตกต่างจากศูนย์การแพทย์นานาชาติของประเทศอื่น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด