แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสมาร์ทกริดเพื่อบริหารจัดการพลังงานในเมืองอัจฉริยะ
คำสำคัญ:
เมืองอัจฉริยะ, ยุทธศาสตร์ชาติ, สมาร์ทกริดบทคัดย่อ
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สอดคล้องกับทิศทางทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีลักษณะของการพัฒนาทั้งสิ้น 7 ด้าน ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ เศรษฐกิจอัจฉริยะ ขนส่งอัจฉริยะ พลังงานอัจฉริยะ พลเมืองอัจฉริยะ การดำรงชีวิตอัจฉริยะ และการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ ทั้งนี้ พลังงานไฟฟ้าเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ นั้น จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าเป็นหลัก ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าให้เป็นสมาร์ทกริดจะช่วยให้การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเพื่อปรับปรุงเมืองไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะนั้น เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น จากบทวิเคราะห์พบว่าสมาร์ทกริดสามารถช่วยบรรลุเป้าประสงค์ทั้งเจ็ดประการของเมืองอัจฉริยะทั้งทางตรงและทางอ้อม และยังสามารถตอบเป้าหมายที่สองของยุทธศาสตร์ชาติในการด้านการเพิ่มการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้สูงขึ้นด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-03 (2)
- 2023-09-05 (1)
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รัฏฐาภิรักษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด