การสร้างมาตรการคุ้มครองการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินคดีอาญาของอัยการ
คำสำคัญ:
คดีอาญา, อัยการ, ยุติธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 248 กำหนดให้องค์กรอัยการมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็วเที่ยงธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง และได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 กำหนดให้อัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่การที่ มาตรา 22 บัญญัติเพียงว่าดุลพินิจของอัยการในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 21 ซึ่งได้แสดงเหตุผลอันสมควรประกอบแล้วย่อมได้รับความคุ้มครองนั้น ยังไม่เพียงพอในการคุ้มครองการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินคดีอาญาของอัยการจึงจำเป็นต้องมีการสร้างมาตรการในการคุ้มครองการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินคดีอาญาให้เหมาะสม เพื่อให้อัยการมีความเป็นอิสระในการดำเนินคดีอาญาและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยปราศจากความเกรงกลัวว่าจะได้รับผลร้ายหรือจะถูกกลั่นแกล้งหรือถูกฟ้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีปกครองในภายหลัง ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งจะส่งผลทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมตามหลัก The Rule of Law อีกทั้งยังเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงต้องทำการแก้ไข มาตรา 22 ให้มีข้อความว่า “ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 21 ซึ่งได้แสดงเหตุผลอันสมควรประกอบแล้วย่อมได้รับความคุ้มครองโดยไม่ให้บุคคลใดฟ้องคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครองและคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด”
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด