รูปแบบเศรษฐกิจจีนยุคสีจิ้นผิงและการปรับประยุกต์กับเศรษฐกิจไทย
คำสำคัญ:
สีโนมิกส์, โมเดลเศรษฐกิจวงจรคู่บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์และโมเดลเศรษฐกิจจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิงหรือ “สีโนมิกส์” โดยเฉพาะโมเดลเศรษฐกิจวงจรคู่ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔ ของจีน เพื่อถอดบทเรียนประสบการณ์ของจีนในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับไทย และปรับประยุกต์เพื่อเสนอแนะรูปแบบเศรษฐกิจไทยยุคหลังโควิด-๑๙
ผลการศึกษา พบว่า จีนสามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจตามแนวทางสีโนมิกส์ที่ต้องการหันมาเน้นการบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดภายนอกและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ด้วยโมเดลการพัฒนาในรูปแบบใหม่ จีนสามารถลดสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP และค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศต่อ GDP ได้มากขึ้น
จากการถอดบทเรียนและปรับประยุกต์จากโมเดลจีน มีข้อเสนอแนะเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในยุคหลังโควิด-๑๙ ด้วย C.C.C. model ประกอบด้วยการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ (Circulation) การบริโภค (Consumption) และการแข่งขัน (Competition) และข้อเสนอแนะเพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางนวัตกรรมด้วยแนวทาง T.H.A.I. Model นั่นคือ การมุ่งพัฒนาด้านเทคโนโลยี (Technology) ทุนมนุษย์/คนเก่งมีทักษะสูง (Human Capital/Talent) ภาคเกษตรที่ก้าวหน้า (Advanced Agriculture) และอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรม (Innovative Industries) ทั้งนี้ จำเป็นต้องตระหนักถึงเงื่อนไขและบริบทของไทยที่ยังคงแตกต่างกับจีนในหลายด้าน
References
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
หนังสือ
จางเหวยเหวย. China Now จีนก้าวนำ วาทกรรมแดนมังกรบนเวทีโลก. (รศ.ดร. หยางลี่โจว, ผู้ แปล). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, ๒๕๖๔.
สีจิ้นผิง. สีจิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙.
หลิน อี้ฟู. เศรษฐกิจจีน: ปริศนา ความท้าทาย และอนาคต. (อักษรศรี พานิชสาส์น, ผู้แปล). กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, ๒๕๖๐.
อักษรศรี พานิชสาส์น. เศรษฐกิจจีน ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทย. กรงุเทพฯ : โอเพ่นบุ๊ค, ๒๕๕๔.
เอลิซาเบท อีโคโนมี. การปฏิวัติครั้งที่สาม สู่แผ่นดินจีนยุคใหม่ ภายใต้ผู้นำตลอดกาล สี จิ้นผิง. (ถัง หลง, ผู้แปล). กรงุเทพฯ : เกรท ไอเดีย, ๒๕๖๑.
วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย เอกสารวิจัย
อู๋ เฉี่ยวยี่, พลตรี. “ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศจีนในห้วง ๔๐ ปี ของการปฏิรูป และเปิดประเทศ”. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ๒๕๖๑.
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ดอน นาครทรรพ. “ไทยกับจีน บนเส้นทางสู่ประเทศรายได้สูง”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://thestandard.co/thailand-and-china-on-road-to-high-income- countries/,
๒๕๖๕.
สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย. “สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กล่าวคำปราศรัยในที่ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับงานเศรษฐกิจและสังคม”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/ChineseEmbassyinBangkok/posts/33055806494 88717, ๒๕๖๓.
ภาษาต่างประเทศ
Electronic Data Base
Alice Tsang. “Economic and Trade Information on China”. (online). Available : https://research.hktdc.com/en/article/MzIwNjcyMDYx, 2022.
Chris Buckley. “Xi's Post-Virus Economic Strategy for China Looks Inward”. (online). Available : https://www.nytimes.com/2020/09/07/business/china-xi-economy.html, 2020.
The Economist. “China's ‘dual-circulation’ strategy means relying less on foreigners”. (online). Available : https://www.economist.com/china/2020/11/05/chinas-dual-circulation- strategy-
means-relying-less-on-foreigners, 2020.
Tuuli McCully. “China’s Dual-Circulation”. (online). Available : https://www.scotiabank.com/ca/en/about/economics/economics- publications/post.other-publications.insights-views.china-s-dual-
circulation- -november-18-
-.html?fbclid=IwAR0Sf2Np9d6oXXueMWKizzOjJqXw92j- p67wzbiPughdJelUg-6hcw8kqTA, 2020.
Xinhua. “Xi presents new CPC central leadership, roadmap for next 5 years”. (online). Available : http://www.xinhuanet.com/english/special/19cpcnc/index.htm, 2017.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-03 (2)
- 2023-09-05 (1)
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รัฏฐาภิรักษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด