แนวทางการใช้อากาศยานไร้นักบินสนับสนุนระบบบริการสุขภาพโรงพยาบาลรัฐในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

อากาศยานไร้นักบิน, ระบบบริการสุขภาพ, โรงพยาบาลรัฐ

บทคัดย่อ

การพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้นักบิน หรือ โดรน มีความก้าวหน้าและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น สามารถปฏิบัติภารกิจได้ด้วยความคล่องตัว พร้อมต่อการปฏิบัติงานตลอดเวลา และช่วยให้ลดต้นทุนการขนส่ง ในต่างประเทศนำมาปรับใช้สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากร และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการอย่างไร้รอยต่อ เมื่อทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชลบุรีของประเทศไทยพบว่า ประชาชนในเขตเมือง พื้นที่ห่างไกล และพื้นที่เกาะ มีความต้องการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่มีความรวดเร็ว ทันเวลา และต่อเนื่อง สามารถตอบสนองได้ด้วยการปรับใช้อากาศยานไร้นักบินประเภท VTOL และ Multirotor สำหรับขนส่ง ยา วัคซีน เลือด และเครื่องมือทางการแพทย์ ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มทุน และรวดเร็ว
แนวทางการใช้อากาศยานไร้นักบินสนับสนุนระบบบริการสุขภาพโรงพยาบาลรัฐในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ควรจะดำเนินการ ดังนี้ 1) กำหนดนโยบายการให้บริการสุขภาพด้วยระบบการแพทย์ทางไกลร่วมกับการปรับใช้อากาศยานไร้นักบิน 2) กำหนดค่านิยมความปลอดภัย ความคุ้มค่า และความรวดเร็ว 3) พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อากาศยานไร้นักบินสำหรับระบบบริการสุขภาพ 4) กำหนดโครงสร้างการปฏิบัติงานและการควบคุมอากาศยานนักบิน 5) สนับสนุนให้มีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเดินอากาศ 6) สนับสนุนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และ 7) สนับสนุนการพัฒนาความรู้สำหรับผู้บริหาร บุคลากรมีประสบการณ์การปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ทางไกลเกี่ยวกับการปรับใช้อากาศยานไร้นักบินสนับสนุนระบบบริการสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

References

การแพทย์, กรม. “แผนปฏิบัติราชการกรมการแพทย์ ระยะ 5 ปี พุทธศักราช 2566-2570” .(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.dentistry.go.th/backend/Content/Content_File/ Strategic/Attach/20221223113612AM_นโยบายกรมการแพทย์5ปี (60-77).pdf., 2565.

คณะกรรมการกฤษฎีกา, สำนักงาน. “พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://web.krisdika.go.th/lawHeadPDF.jsp?formatFile=pdf&hID=0, 2565.

นัทวรรณ บุญรักษา อัญชลี สมบูรณ์ และรพี อุดมทรัพย์. “โดรน นวัตกรรมเปลี่ยนโฉมวงการโลจิสติกส์”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://hcuconf.hcu.ac.th/2021/wpcontent/ uploads/2021/06/Drone_Innovation_Logistics.pdf., 2563.

บุรัสกร วัชรกาฬ และ นพดล กรประเสริฐ. “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับในการสำรวจเก็บข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Sakoo/Downloads/ NCCE%2023TRLID326%20(1).pdf,,2561.

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. “กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่าสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” (Transformation to Hi-Value and Sustainable Thailand). (ออนไลน์). เข้าถึงได้

เลขาคณะรัฐมนตรี, สำนัก.”ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. ๒๕๕๘”. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2558/D/086/6.PDF

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงาน. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรุงเทพฯ: 2560.

เลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, สำนักงาน. “ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91- cRrNsEV/view, 2565.

วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ. “นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 440 ปี 37 ธันวาคม 2558”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/400415 .2558.

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข. “แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (13) ประเด็นการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (พ.ศ.2561-2580)”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://drive.google.com/file/d/11QGpU0rVdZMxX6TjyUsCfGMJHC9WqPkO/view. 2565.

สุพิจจารณ์ ธรรมวาทะเสรี. “แนวทางพัฒนาการใช้อากาศยานไร้คนขับช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ”. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:https://so05.tcithaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/ 247855/169189, .2563.

สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. “แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/044/T_0001.PDF,

Morse, J. (1994). Designing funded qualitative research. In N. Denzin & Y. Lincoln (Eds.), Handbook for Qualitative Health Research (pp 220-235), Thousand Oak, CA: Sage.13, 155-157.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-17