การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580)

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ อจลบุญ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, ยุทธศาสตร์ชาติ, ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) และ 2) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ
20 ปี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตยาธิราช และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความวิจัย วารสารสิ่งพิมพ์ รายงานผลการดำเนินงาน และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฯ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฯ
ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563 ได้มีการปรับเพิ่มรายวิชาที่มุ่งเน้นความรู้ใน 3 มิติ ประกอบด้วย มิติทางอากาศ (Air Domain) มิติไซเบอร์ (Cyber Domain) และ มิติอวกาศ (Space Domain) แต่ยังขาดการบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงขาดกิจกรรมที่เป็นการปลูกฝังทัศนคติด้านความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเข้าจนจบการศึกษา นอกจากนี้ในด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง พบว่า
สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษายังขาดประสิทธิภาพในการรองรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ รวมถึงยังขาดการส่งเสริมเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาทุกส่วนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งอาจารย์ นักเรียน หรือส่วนสนับสนุนการศึกษา ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกกองทัพอากาศ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี ได้แก่ การใช้กลยุทธ์ “SMART” ซึ่งประกอบด้วย 1) การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรตามหลัก STEM (Science + Technology + Engineering + Mathematics : S) 2) การบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อความเป็นเลิศ (Management Excellence : M) 3) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ (Academic Facility Excellence : A) 4) การปรับปรุงหลักสูตรให้ส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development Excellence : R) และ 5) การปรับปรุงหลักสูตรให้มีการฝึกอบรมหรือมีกิจกรรมที่เป็นการปลูกฝังทัศนคติทางทหาร (Training & Military Education Excellence : T) เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี

References

กนกพร พรหมสุวรรณ และ อริยพร คุโรดะ. (2564). “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (3) พฤษภาคม 2564. หน้า 1079 – 1090.

กิตติ ศรีนุชศาสตร์. (2560). “แนวทางการบริหารโรงเรียนนายเรืออากาศเพื่อสู่ความเป็นเลิศ”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ. 5 (5) มกราคม-ธันวาคม 2560.

หน้า 74 - 86.

กองทัพอากาศ. (2563). “ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2561– 2580)”, (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563).

กองทัพอากาศ. (2566).“แผนพัฒนาการศึกษาของกองทัพอากาศ พ.ศ.2566 - 2570”.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 - 2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร; หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อลีนเพรส.

ชนาวุธ บุตรกินรี. (2560). “การพัฒนาระบบการฝึกและศึกษาทางทหารของกองทัพไทยรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579)”. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ณัทกร พราหมอ้น. (2564). “การพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอากาศยานโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช”. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ.

นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, โรงเรียน .(2563). “หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินท-กษัตริยาธิราช พ.ศ.2563”. ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2563.

นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, โรงเรียน. (2564). “รายงานการประเมินตนเองหลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ประจำปี 2564”.

นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปี 2566. (2566). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://dict. rtaf.mi.th/images/documents/public_doc/01_policy/Commander_Policy_66_Draft.pdf.

บุญร่วม เทียมจันทร์ และ ศรัญญา วิชชาธรม. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580). กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะ ลอว์ กรุ๊ป.

บุญเลิศ อันดารา, พลอากาศตรี. รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (สายงานการศึกษา). สัมภาษณ์. 12 มกราคม 2566.

ประกาศิต เจริญยิ่ง. (2563). “แนวทางการบูรณาการการบริหารกำลังพลเพื่อรองรับยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ”. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ปิยะกิตติ์ สุทธิวัฒน์ธนากูล. (2563). “การพัฒนาระบบการศึกษาของกองทัพอากาศ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2561 - พ.ศ.2580)”. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ประสงค์ ปราณีตพลกรัง, พลอากาศตรี. ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินท-กษัตริยาธิราช. สัมภาษณ์. 14 มกราคม 2566.

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, 13 ตุลาคม 2561. หน้า 10 - 17.

ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580). (2561). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https:// dict.rtaf.mi.th/images/documents/public_doc/02_strategy/

รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุคพอยท์.

วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์, พลอากาศโท. ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช. สัมภาษณ์. 12 มกราคม 2566.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2561). แนวทางการพัฒนากองทัพไทยเพื่อรองรับนโยบาย Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : กองศึกษาวิจัยทางยุทธศาสตร์และความมั่นคง ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

สุริยา กําธร. (2553). “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดนาคนิมิตร”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประถมศึกษา, มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมเกียรติ สุกางโฮง, นาวาอากาศเอก. รองผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ

นวมินทกษัตริยาธิราช (สายงานการศึกษา). สัมภาษณ์. 16 มกราคม 2566.

อติชาต อึ๋งโฆษาชนะวานิช, นาวาอากาศเอก. ผู้อำนวยการกองอำนวยการศึกษา กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช. สัมภาษณ์. 16 มกราคม 2566.

Ho, J.Y., & O Sullivan, E. (2016). “Strategic standardization of smart systems: A road mapping process”. Journal Information. 2016. 5(2).

Kotler, P., & Murphy, P.E. (1998). “Strategic planning for higher education”. Journal of Higher Education, 1998. p. 52,-489.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). “NATIONAL STRATEGY 2018 ”. (Online). Available: http://nscr.nesdc.go.th/wpcontent/ uploads/2019/10/National- Strategy-Eng-Final-25-OCT-2019.pdf.

Wheelen, T.,& Hunger, D. (2008). “Strategic management and business policy”. NJ : Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-17