แนวทางเชิงนโยบายต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจด้านความมั่นคงทางทะเลต่อ อ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง
คำสำคัญ:
การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์จีนกับสหรัฐฯ, ความมั่นคงทางทะเล, อ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่องบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางเชิงนโยบายต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจด้านความมั่นคงทางทะเล ต่ออ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสารของไทยและต่างประเทศ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ที่เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ Realism ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเลของจีน สหรัฐฯ และพันธมิตร และประเทศสมาชิกอาเซียน
ผลการวิจัยพบว่า การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และพันธมิตร
ด้านความมั่นคงทางทะเลในทะเลจีนใต้และเชื่อมต่อมายังอ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ทางการแข่งขันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจีนได้วางยุทธศาสตร์เชิงรุกในการส่งเสริมการขยายอิทธิพลทางทะเล
ด้านการสร้างกฎระเบียบและบรรทัดฐาน และโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบโดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เป็นหลักให้ความสำคัญกับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เป็นหลัก ในเชิงนโยบายต่างประเทศ ไทยไม่ได้เป็นประเทศที่อ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลจีนใต้กับจีนในเชิงนโยบายต่างประเทศ ไทยไม่เป็นประเทศที่อ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลจีนใต้กับจีน อีกทั้งไทยยังสนับสนุนทั้งข้อริเริ่มสายแถบ สายเส้นทางของจีนและยุทธศาสตร์ FOIP ของสหรัฐฯ และผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ต่ออ่าวไทยได้แก่ ความมั่นคงทางทะเล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทยกับจีน ไทยกับสหรัฐฯ ไทยกับกัมพูชา และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน ความร่วมมือในกรอบอาเซียน และกฎหมายระหว่างประเทศ
References
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, สำนักงานสภาความมั่น แห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี “ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads /2019/09ทะเลและมหาสมุทร–และผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. pdf, ๒๕๖๒.
การต่างประเทศ, กระทรวง. “ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสองมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”. ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖.
อาร์ม ตั้งนิรันดร. China Next Normal. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ bookscape, ๒๕๖๓.
Bradford, F. Bradford and Wilfried A. Hermann, “Thailand’s Maritime Strategy : National Resilience and Regional Cooperation”. (Online). Available : https://www. airuniversity.af.edu. 2021.
Brook, Jack and Rathana, Phin. “Cambodial reveals air defense plans near China-funded naval base”. (Online). Available : https : www.asia.nikkei.com/Politics/Defense /Cambodia-reveals-air-defense-plans-nearChina-funded-naval-base. 2023.
Carle, A. Thayer. “The Rise of China and Maritime Security in Southeast Asia”. (Online). Available : https://www.ide.go.jp. 2012.
Holmes R. James. “What ‘Containing China’ Means”. The Diplomat. 24 May 2011.p. 2-3.
Marshall, Tim. Prisoners of Geography. London: WC1N 2BX, 2016.
Mearsheimer, John J. The Great Delusion. Yale University Press, 2018.
Thi Ha, Hoang. “Is the US a Serious Competitor to China in the Lower Mekong?”. ISEAS Yusof Ishak Perspective. Issue : 2023 No. 37. (Online). Available : https://www.iseas.edu.sg/wp-content/uploads/2023/03/ISEAS_Perspective_2023_37.pdf. 2023.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด