หลักการและการพัฒนาโครงการ T-VER คาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้ ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
คาร์บอนเครดิต, โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยบทคัดย่อ
พิธีสารเกียวโตจัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำหนดเป้าหมายให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ส่วนประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องลดก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกโดยความสมัครใจได้ ผ่าน “กลไกการพัฒนาที่สะอาด” (Clean Development Mechanism : CDM) ที่ UNFCCC จัดตั้งขึ้น แต่กลไก CDM ก็มีข้อจำกัดในเรื่องความซับซ้อนทางเทคนิค ต้นทุนสูง และมีความยุ่งยากของการดำเนินโครงการเพื่อรับรองคาร์บอนเครดิต ตลอดจนราคาคาร์บอนเครดิต CER ตกต่ำลงมากเพราะประเทศที่พัฒนาแล้วมีความต้องการลดลง ประเทศไทยโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จึงได้พัฒนา“โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย” (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศได้ ด้วยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้/หรือกักเก็บได้ ขายใน “ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ” ในประเทศไทยได้ ซึ่งการขอขึ้นทะเบียนโครงการ และการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกกลไก T-VER มีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินงานของกลไก CDM บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของการจัดตั้งกลไกคาร์บอนเครดิต T-VER ในประเทศไทย ตลอดจนวิธีการพัฒนาโครงการ T-VER เพื่อให้เกิดการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตได้ และสามารถนำไปสู่การซื้อขายถ่ายโอนแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ต่อไป รวมถึงตัวอย่างโครงการ T-VER ประเภทป่าไม้ ที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตแล้วในประเทศไทย
References
วัดหนองจระเข้. “รายงานการติดตามประเมินผลและรายงานการทวนสอบโครงการ”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/tver-database-and-statistics/t-ver-registered-project/item/797-sustainable-forestation-at-nong-jra-kae-temple-banna- subdistrict-klaeng-district-rayong-province.html, 2560.
ป่าไม้, กรม. “เอกสารขึ้นทะเบียนโครงการและรายงานการตรวจสอบความใช้ได้”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/tver-database-and-statistics/t-ver-registered-project/item/809-reducing-emission-from-deforestation-and-forest-deg radation-and-enhancing-carbon-sequestration-in-ban-kong-tabang-community-forest-petchaburi-province-p-redd-in-ban-kong-tabang-community-forest-pe.html , 2558.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “ประเภทโครงการ T-VER”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/tver-type.html, 2567.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “T-VER คืออะไร”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/t-ver.html, 2567.
อภิสิทธิ์ เสนาวงค์. นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สำนักรับรองคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “โครงการป่าไม้เพื่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย”. เอกสารวิชาการสำหรับเผยแพร่. ธันวาคม 2563.
อภิสิทธิ์ เสนาวงค์. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้”. เอกสารวิชาการสำหรับเผยแพร่. ตุลาคม 2566.
อภิสิทธิ์ เสนาวงค์. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ของประเทศไทย”. เอกสารวิชาการสำหรับเผยแพร่. กันยายน 2566.
UNFCCC. “Kyoto Protocol - Targets for the first commitment period”. เว็บไซต์. เข้าถึงได้จาก : Kyoto Protocol - Targets for the first commitment period | UNFCCC. 2024
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด