แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศไทย : กรณีศึกษา แนวทางการพัฒนา ความร่วมมือระหว่างตํารวจภูธร ภาค 4 และภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวชอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด ก่อเหตุรุนแรงในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ณัฐนนท์ ประชุม ตำรวจภูธร ภาค ๔

คำสำคัญ:

การพัฒนาความร่วมมือ, ภาคีเครือข่าย, ยาเสพติด , ผู้ป่วยจิตเวช, การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินการของตำรวจภูธรภาค 4 และภาคีเครือข่าย 2) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการประสานความร่วมมือของตำรวจภูธรภาค 4 และภาคีเครือข่าย และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประสานการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยอาศัยวิธีการดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant) เป็นเจ้าหน้าที่จากตำรวจภูธรภาค 4 และหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 20 คน

    ผลการวิจัยพบว่า การดําเนินงานของตํารวจภูธรภาค 4 ในความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย มีความร่วมมือแบบเป็นทางการ (Formal Type) ซึ่งมีรูปแบบการบริหารจัดการบนแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองโดยเครือข่าย (Network Governance) และแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วน (Collaborative Governance) ซึ่งมีสภาพปัญหาและอุปสรรคในการประสานงาน ได้แก่ 1) ปัญหาความเข้าใจนิยามผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะอันตรายคลาดเคลื่อนกัน 2) ปัญหาตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน 3) ปัญหารอยต่อระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวโดยทำเสริมสร้างความเข้าใจนิยาม ขั้นตอนการปฏิบัติและประชาสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนได้รับรู้ (Chris Ansell and Alison Gash, 2007 : 543-571)

           ผู้วิจัยเสนอแนวทางการประสานการปฏิบัติดังนี้ 1) แนวคิดการจัดตั้งจุดพักคอย (Community Isolation) เพื่อเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยหลังจากการจับกุม และรอให้แพทย์วินิจฉัยให้การรักษาหรือรอรับยาและยังเป็นที่พักคอยระหว่างรอเตียงว่างหรือรอทางโรงพยาบาลจิตเวชหรือโรงพยาบาลธัญญารักษ์เตรียมความพร้อมการรักษา 2) แนวคิดการดำเนินศูนย์ “มินิธัญญารักษ์”
ซึ่งมีลักษณะเป็นการเพิ่มและกระจายการบริการด้านการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชไปยังโรงพยาบาลชุมชน และเป็นการสร้างความร่วมมือให้คนในชุมชนดูแลตนเอง

References

กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต, สาระสําคัญพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : บริษัท ละม่อม จํากัด, 2563 หน้า 26-27.

จิรประภา อัครบวร และ ประยูร อัครบวร, การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย = Governing by Network. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สํานักงานคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ, 2552.

มนัส ธิราขันธ์. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ ตําบลเหมือง อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.

โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น. "แนวทางการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาและสารเสพติดระยะยาวในโรงพยาบาลชุมชนในรูปแบบมินิธัญญารักษ์", 2566.

ศศิธร ทองจันทร์. “การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันกับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐไทย กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดพิษณุโลก”. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม, แนวทางการเฝ้าระวัง ค้นหา ส่งต่อ บําบัด และดูแลติดตามผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิต. กรุงเทพฯ : 2562.

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. แผนปฏิบัติการด้าน การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ITA/main/ แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด%20พ.ศ.%202565.pdf, 2565.

สุขภาพจิต, กรม, กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อ ความรุนแรงสําหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ : บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จํากัด, 2563.

อนุศักดิ์ ศักดาวัชรานนท์. “การบูรณาการในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดให้อยู่ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ตามโครงการนาคาพิทักษ์ของตํารวจภูธรจังหวัด หนองคาย”. เอกสารศึกษาส่วนบุคคล, วิทยาลัยการตํารวจ กองบัญชาการศึกษา สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, 2565.

Chris Ansell and Alison Gash. Collaborative Governance in Theory and Practice”. Journal of Public Administration Research and Theory, 18 (4), 2007. p.543–571.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-20