การซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ จากกลไก T-VER ภาคป่าไม้ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
คาร์บอนเครดิต, โครงการลดก๊าซเรือนกระจก, การซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจบทคัดย่อ
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. ได้ริเริ่มการให้การรับรอง โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ขึ้นในปี 2557 เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้พัฒนาโครงการรายเล็ก มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ ซึ่งคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจากโครงการดังกล่าว จะเรียกว่า เครดิต TVERs สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ผ่านปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ทั้งในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ การจัดงานอีเว้นท์ รวมถึง การใช้ชีวิตประจำวัน ได้ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในประเทศไทย และสถานการณ์การซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER ภาคป่าไม้ ซึ่งประชาชนจะสามารถเข้าร่วมโครงการ T-VER ตลอดจนซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้
สำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในประเทศไทย มี 2 รูปแบบหลัก คือรูปแบบแรก ตกลงราคากันเองระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย หรือ Over the Counter (OTC) แล้วมาจดแจ้งการทำธุรกรรมที่ระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิต (Registry System) ของ อบก. รูปแบบที่สอง คือ Exchange Platform ผ่านศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต ที่ชื่อ FTIX ซึ่งพบว่า การซื้อขายแบบ Over-the-Counter มีสัดส่วนมากกว่าถึง 99% ในขณะที่รูปแบบ Exchange Platform ที่เกิดขึ้นใหม่ มีสัดส่วนน้อยกว่ามาก เนื่องจากศูนย์ให้บริการซื้อขายคาร์บอนเครดิต FTIX บริหารจัดการโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยนั้น เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในประเทศไทย นอกจากนี้ พบว่าราคาคาร์บอนเครดิต TVERs ของประเทศไทยมิได้แตกต่างจากของต่างประเทศมากนัก
References
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “คาร์บอนเครดิต คืออะไร”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/tver-type.html, 2567.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “ราคาคาร์บอนเครดิต ปริมาณ และมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=aG9tZQ==, 2567.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “T-VER คืออะไร”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/t-ver.html, 2567.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “สู้ภัยโลกร้อนด้วยตลาดคาร์บอน”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://www.tgo.or.th/2023/index.php/th/post/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89, 2562.
อภิสิทธิ์ เสนาวงค์. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้”. เอกสารวิชาการสำหรับเผยแพร่. ตุลาคม 2566.
อภิสิทธิ์ เสนาวงค์. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ของประเทศไทย”. เอกสารวิชาการสำหรับเผยแพร่. กันยายน 2566.
อภิสิทธิ์ เสนาวงค์. นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สำนักรับรองคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “โครงการป่าไม้เพื่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย”. เอกสารวิชาการสำหรับเผยแพร่. ธันวาคม 2563.
ECOSYSTEM MARKETPLACE. “2023 State of the Voluntary Carbon Markets Report”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://www.ecosystemmarketplace.com/publications/state-of-the-voluntary-carbon-market-report-2023/, 2023.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด