การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อความมั่นคงของชาติ

ผู้แต่ง

  • ธีระวัฒน์ อินทรไพโรจน์ Air Force Electronic Communications Department

คำสำคัญ:

เครือข่ายสังคม, สื่อสังคมออนไลน์, ข่าวปลอม, ไซเบอร์สเปซ, พลเมืองดิจิทัล

บทคัดย่อ

การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนา เติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด และได้เข้ามา
มีบทบาทอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในทุกระดับ และทุกครัวเรือน ในด้านหนึ่งสื่อสังคมออนไลน์ ก็มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะในด้านของการศึกษาหาความรู้ข้อมูลจากทั่วโลกแบบไม่มีที่สิ้นสุด แต่อีกด้านหนึ่งสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถสร้างความวุ่นวาย ขัดแย้งต่อสังคมได้ เพราะเป็นช่องทางการสื่อสารที่สามารถส่งต่อข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ แต่ถ้าหากข้อมูลที่ส่งต่อ ๆ กัน เป็นข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่ได้คัดกรองก่อน หรือมีผู้ไม่หวังดีจงใจที่จะส่งต่อข้อมูล
ที่ผิดพลาด บิดเบือน มุ่งร้าย ด้วยทางเทคนิคหรือวิธีการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่อสังคมออนไลน์
จึงมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เพราะปัจจุบันถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกปั่น ยุยง และ
ใส่ร้ายสถาบันหลักของชาติ และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ก่อนจะเกิดความเสียหาย หรือการปลูกฝังแนวความคิดผิด ๆ ต่อผู้ใช้งานไปมากกว่านี้ จึงควรออกมาตรการในการควบคุม ควบคู่กันไปกับ
การวางมาตรการป้องปรามป้องกัน และกำหนดนโยบายการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยกำหนดกรอบระยะเวลา และให้ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจลงมากำกับดูแล โดยกำหนดกฎหมายเพื่อที่จะให้เป็นกติกาสำหรับสังคมไทย เพื่อสร้างพลเมืองดิจิทัลที่เข้าใจบรรทัดฐานของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีต่อไป

References

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ. (2563). “แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ(ฉบับปรับปรุง)”, (ออนไลน์). เข้าถึง ได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/07/แยกด้าน-08-สื่อสาร.

ณิชกุล เสนาวงษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแชดในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสยาม.

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2564). “สถิติใช้ดิจิทัลทั่วโลก คนไทย เป็นอันดับต้นหลายด้าน”, (ออนไลน์). เข้าถึง ได้จาก:https://www.bangkokbiznews.com/columnist/988063.

ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงาน. (2565). “แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี พ.ศ.2566-2570”, (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.mdes.go.th/law/download/5353.

พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, สำนักงาน. (2562). “Fake News ลวงให้เชื่อ หลอกให้แชร์”,(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/articles/DigitalCitizen/FakeNews.aspx?feed=590fb9ad-c550-4bc5-9a56-459ad4891d74.

ฤทธี อินทราวุธ, พลตรี. (2548). “สื่อสังคมออนไลน์กับความมั่นคงของชาติ”, (ออนไลน์). เข้าถึงได้ จาก: http://rittee1834.blogspot.com/2015/08/blog-post.html.

วีรวดี ขุขันธิน, พันเอกหญิง. (2560). การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์สาธารณะ มีผลกระทบต่อความ มั่นคงปลอดภัยของกองทัพไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิทยาลัยการทัพบก.

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561- 2580. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก วันที่ 13 ตุลาคม 2561.

สุวรรณี ไวท์, สุวัฒสัน รักขันโท และสิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2564). มนุษย์กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

DataReportal. (2022). “Digital 2022: October Global Statshot Report”,

Online, Available: The Global State of Digital in October 2022 —DataReportal – Global Digital Insights.

Metha Suvanasarn. (2065). “ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ”, (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.itgthailand.wordpress.com/2021/02/27/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-20