การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การบริหารจัดการปัญหาภัยแล้ง

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ เปี่ยมปัจจัย รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
  • ดวงตา ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงบประมาณ
  • คณะนักศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57 กลุ่มการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ:

ทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม, , การบริหารจัดการน้ำ, natural resources, environment, water management

บทคัดย่อ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ แต่ ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้ง ที่ถือว่าเป็นปัญหาระดับประเทศ ที่ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการตัดไม้ทำลาย ป่า การบุกรุกทีดิ่นทำกิน และสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลน น้ำอุปโภคบริโภค ผลผลิตที่ลดลง การอพยพแรงงานเข้ามาสู่เมืองใหญ่ รัฐต้องสูญเสียงบประมาณ จำนวนสูง รัฐบาลปัจจุบัน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมถึงนโยบายการปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่ อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน การทำ แนวเขตที่ดิน การแก้ปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกล้ำเขตป่าสงวน นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการที่ดินตามแนวพระราชดำริ การแก้ปัญหาน้ำ ท่วมและปัญหาขาดแคลนน้ำ ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการทั้งระบบ และการ ควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะและน้ำเสีย รัฐต้องร่วมกันกับภาคประชาชนให้เข้ามาช่วยกันบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ร่วมแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่า ผลักดัน กฎหมายการใช้ที่ดินเร่งออกเอกสารสิทธิ์ที่ทำกิน กำหนดเขตการปลูกพืชเศรษฐกิจ วางแผนการ ผลิตและจัดการผลผลิต จัดการปัญหาน้ำท่วมและอุทกภัยด้วยสิ่งก่อสร้างเก็บกักน้ำ ปรับปรุงสภาพ ลำน้ำ การระบายน้ำ และการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ เร่งพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลชุมชน คุณภาพน้ำ เค็ม ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติทางน้ำและป่าต้นน้ำ จัดหาน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภค อย่างพอเพียง

 

The Natural Resources and envionmental Management :
Droughts Disaster Management

Natural resources and the environment are essential foundations of Thailand’s economic and social development that also have ramifications for the wellbeing of its people. Thailand has faced many natural disasters, especially droughts, which are considered a national threat caused by deforestation, land invasion and the changing global climate. Such activities cause water supply shortages, reduced productivity, and migration to cities, at an excessive cost to the government. The current government realises these problems and, as such, has formulated natural resource management and environmental conservation policies covering environmental conservation and protection, forests and wild animals. The policies focus on solving the problems of forest trespassing, managing boundary lines, helping poor farmers who have no land and preventing trespassing on forest reserves. Furthermore, the policies will promote conservation and consumption of biological resources and sustainable varieties of biodiversity and emphasise land management in line with His Majesty the King’s initiatives, in turn resolving flood problems and water shortages. Furthermore, the policies will address water management integration, air pollution control, and garbage and wastewater issues. The government must collaborate with the public to systematically improve the management of natural resources and the environment. It will help solve the deforestation problem and restore and increase forest areas. To achieve this, the government must push forward legislation governing land usage and related resources and determine economic plantation areas, including ensuring effective planning of economic planting zones. In line with the master plan for flood management, the government will build dykes and improve the water diversion canals and flood-ways, while safeguarding the quality of underground water resources. Supplies of water for agriculture and consumption will be managed sustainably.

Downloads