แนวทางในการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ
คำสำคัญ:
คลื่นความถี่, การบริหารคลื่นความถี่, ความมั่นคง, spectrum, national communications resource, national securityบทคัดย่อ
คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถ ประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ รวมทั้งด้านความมั่นคง โดยที่ปัจจุบันหลักการรบได้มุ่ง ไปสู่การ ปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้คลื่นความถี่ ซึ่ง ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางในการบริหารและจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ ดังนั้น การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจสถานภาพการใช้งานคลื่นความถี่ของหน่วยงานเพื่อความ มั่นคง ตลอดจนเพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานเพื่อความมั่นคง จากการปฏิบัติ ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ที่ได้ประกาศใช้ รวมทั้งเพื่อเสนอแนวทางในการบริหาร และจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐตามความจำเป็น ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน สากล โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน การวิจัยนี้ใช้วิธีดำเนิน การวิจัยเชิงคุณภาพและมีขอบเขตของงานวิจัย เฉพาะการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคง ของรัฐในกิจการโทรคมนาคมและวิทยุคมนาคมเป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่าข้อมูลสถานภาพการใช้งานคลื่นความถี่ของหน่วยงานด้านความ มั่นคงของรัฐไม่เป็นปัจจุบันและไม่สอดคล้องกับฐานข้อมูลการอนุญาตของสำนักงานคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมีแนวทางในการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน สำห รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การปฏิบัติตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่นั้นพบว่ามี 3 ใน 6 ยุทธศาสตร์ที่ส่งผล กระทบต่อหน่วยงานด้านความมั่นคง ตลอดจนส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชนเช่นกัน ในการนี้ได้เสนอแนวทางและหลักเกณฑ์ในการบริหารและจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อ ความมั่นคงของรัฐ โดยต้องจัดทำตารางกำหนดคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐให้ สอดคล้องกับตารางคลื่นความถี่แห่งชาติและสากลเป็นำดับแรก ข้อเสนอแนะ เห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการบริหารคลื่น ความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐเพื่อประสานการดำเนินงานและจัดทำตารางกำหนดคลื่นความถี่ เพื่อความมั่นคงของรัฐ และเห็นควรให้หน่วยงานด้านความมั่นคงมีการจัดตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อบูรณาการการบริหารคลื่นความถี่ภายในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง เสนอให้มีกลไกการนำเงินรายได้จากการประมูลมาชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการ จัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ตามตารางกำหนดคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐที่กำหนด
Principles of Spectrum Management for National Security Purposes
Spectrum is a national communications resource, for both public interest and national security operations, which aims at implementing networkcentric operations (NCOs). However, there are currently no regulations on spectrum management for national security purposes. The objectives of this research were to gather relevant information of frequencies used by the national security agencies; to study the impact of implementation in accordance with the spectrum master plan; and to propose guidance and regulations on spectrum management for national security agencies. The qualitative research was chosen as a research methodology and the scope of this research focused on the study of spectrum management for national security purposes mainly in the telecommunication services. One of the results of this research showed that the spectrum database of the national security agencies was either not completed or consistent with the database of NBTC. It was then proposed to update the spectrum database of the national security agencies regularly. Another result of this research showed that three out of six strategies of the spectrum master plan affected the national security agencies, the country and the people. It was therefore proposed to make a table of frequency allocation for national security purposes in accordance with the national and international table of frequency allocation, which would be served as guidance and regulations on spectrum management for the national security agencies. These results could be implemented with three recommendations, which would provide efficient Spectrum management for national security purposes. Firstly, it was recommended to set up a committee for coordination and creation of the table of frequency allocation for national security purposes. Secondly, it was recommended to set up a central agency as an integration of the national security agencies. Finally, when the re-farming process was introduced, it was recommended to have a mechanism for compensation, which may be from a spectrum auction.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด