การตลาดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย: สตูล

ผู้แต่ง

  • chaiyuth chinokul

คำสำคัญ:

การตลาด, จังหวัดชายแดนภาคใต้, สตูล, Thailand, Satun

บทคัดย่อ

การตลาดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย: สตูล

 

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกทางการตลาด องค์ประกอบส่วนผสมทางการตลาดและสภาพแวดล้อมภายนอกทางการตลาดที่มีผลต่อส่วนผสมทางการตลาดของธุรกิจในจังหวัดสตูล การศึกษาครั้งนี้มีการเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากประชากรที่เป็นสมาชิกหอการค้าจังหวัดสตูล จำนวน 96 คน ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์ 65 ชุด ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเลือกสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 คนจากกลุ่มประชากร

            ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุระหว่าง 31 ถึง 40 ปี มีพนักงานทำงานในองค์การของตน ระหว่าง 1 ถึง 10 คน ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจด้านบริการ ทางด้านสภาพแวดล้อมภายนอกด้านการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีล้วนแต่เป็นโอกาส เนื่องจากเป็นจังหวัดชายแดนที่มีศักยภาพ สำหรับสภาพแวดล้อมในการแข่งขันนั้นมีความรุนแรงปานกลาง แต่ในการเข้าสู่ธุรกิจกระทำได้ยากเนื่องจากขาดเงินลงทุนและช่องทางการกระจายสินค้า วิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจข้างหน้าอีก 2 ปีจะมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เนื่องจากการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน สำหรับด้านส่วนประสมทางการตลาดนั้น ผู้ประกอบการยังเน้นภาพลักษณ์ของร้านค้าอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับ
กลยุทธ์ในการปรับตัวแบบผู้ปกป้องซึ่งเหมาะองค์การเล็กปกป้องตนเอง ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาใช้ในการอภิปราย

            ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่า ควรส่งเสริมการค้าปลีกค้าส่งทั้งในจังหวัดและการค้าชายแดน โดยพัฒนาทั้งเทคโนโลยีและการคมนาคมสู่เพื่อนบ้านที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สำหรับส่วนผสมทางการตลาดผู้บริหารต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสื่อสารการตลาดทั้งระบบ


 Marketing in the Border of Southern Province of Thailand: Satun


ABSTRACT

            The objectives of the study are to investigate the marketing’s external environment, to study the function of marketing mix, and to study effects of the marketing’s external environment on marketing mix in Satun. Quantitative and qualitative data were collected in this study. Questionnaire was used to collect quantitative data from the whole population of 96 members of Satun Chamber of Commerce, with the return completed rate of 65. Interview was employed to collect qualitative data from two key informants selected from the population.

            The main findings from the quantitative research were summarized as follows. Majority of respondents are females, which were between 31-40 years of age, most of them were in service business. There were 1-10 workers in their organization. Regarding external environment dimension, the participants agreed that social, economic and technological factors could provide opportunities as a potential border province. For external environment, Satun was considered at a moderate level. However, lacking of capital and channel distribution seemed to be threats for new entrants. They also presented vision of change within the next 2 years, due to the opening of the ASEAN Communities. As for marketing mix, most entrepreneurs still focused on store’s physical evidence strategy as their defender’s strategies to match with small enterprises in defending themselves. Interview data were used for discussion.

            It is recommended that both the wholesale trade and the retailing trade should be targeted in provincial area of Satun and in its border.  For a stronger economy, Satun needs technology improvement, and transportation to neighbor countries. In terms of marketing mix, the administrators need new product improvement and the integration of marketing communication strategies to the whole system of Satun.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-19