ปฏิบัติการสงครามไซเบอร์ กองบัญชาการกองทัพไทย

ผู้แต่ง

  • jinda sasomboon

คำสำคัญ:

สงคราม, ไซเบอร์, กองบัญชาการกองทัพไทย, Cyber Warfare, RTARF

บทคัดย่อ

ปฏิบัติการสงครามไซเบอร์ กองบัญชาการกองทัพไทย

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษา รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือได้ ในรูปแบบของคำอธิบายและแผนภาพ ทั้งจากเอกสาร รายงาน ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ได้แนวทางในการพัฒนารูปแบบและหลักการปฏิบัติการสงครามไซเบอร์ ด้านการทหาร ทั้งการปฏิบัติเชิงรุกและเชิงรับ สำหรับเตรียมการหรือรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่อาศัยเครือข่ายในการปฏิบัติ รวมทั้งกำหนดบทบาทและโครงสร้างของศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในการปฏิบัติการสงครามไซเบอร์ ซึ่งการปฏิบัติการสงครามไซเบอร์เชิงรุก มีวิธีปฏิบัติประกอบด้วย การหลองลวงฝ่ายตรงข้าม การทำให้ฝ่ายตรงข้ามหยุดการให้บริการทางไซเบอร์ การทำลายระบบทางไซเบอร์ฝ่ายตรงข้าม และการเจาะระบบฝ่ายตรงข้าม ส่วนการปฏิบัติการสงครามไซเบอร์เชิงรับ มีวิธีปฏิบัติประกอบด้วย การปกป้องระบบ การทำให้ระบบสามารถระบุตัวตนผู้ใช้งานได้ การกู้คืนหรือการฟื้นคืนระบบ การค้นหาและปิดช่องโหว่ระบบ การปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานทางไซเบอร์ การบำรุงรักษาระบบ รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ทางกฏหมายหรือข้อบังคับทางไซเบอร์ โดยมีฝ่ายต่าง ๆ ของศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติคือ ฝ่ายกำลังพล ฝ่ายการข่าว ฝ่ายยุทธการ ฝ่ายส่งกำลังบำรุง ฝ่ายกิจการพลเรือน และฝ่ายสื่อสาร

 

Cyber Warfare Operation by RTARF

Abstract

            This qualitative research was conducted by gathering related information from many reliable resources: related documents, reports and other studies through explanations and diagrams. The research resulted in the guidelines to develop and design the operational principles of military cyber warfare both in offensive and defensive in order to prepare defence for a new form of threat-related to using the networks to operate and to determine the role and the structure of the Royal Thai Armed Forces Headquarters for the cyber warfare operation. The cyber offensive operations were performed by deception, cyber service intrusion, system destruction and system penetration. The cyber defensive operations were performed by system protection, user identification system, system recovery, vulnerability scanning and prevention, the compliance of the cyber rules and standards, system maintenance as well as the compliance of the cyber laws and regulations. The offices under the Royal Thai Armed Forces involved in the operation were Directorate of Joint Personnel, Directorate of Joint Intelligence, Directorate of Joint Operations, Directorate of Joint Logistics, Directorate of Civil Affairs and Directorate of Joint Communications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-19