ยุทธศาสตร์ชาติของรัฐไทยในยุคผ่อนคลายความตึงเครียด : THAILAND NATIONAL STRATEGY IN THE DETENTE ERA
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์ชาติของรัฐไทย, ความมั่นคงของรัฐไทย, การผ่อนคลายความตึงเครียด, THAILAND NATIONAL STRATEGY, THAILAND SECURITY, THE DÉTENTE ERAบทคัดย่อ
ยุทธศาสตร์ชาติของรัฐไทยในยุคผ่อนคลายความตึงเครียด
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความผ่อนคลายความตึงเครียดของรัฐไทยในบริบทโลก เพื่อศึกษาสถานการณ์ความผ่อนคลายความตึงเครียดของรัฐไทยในบริบทอินโดจีน และเพื่อศึกษายุทธศาสตร์ชาติของรัฐไทยในยุคผ่อนคลายความตึงเครียด ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความสับสนและมีความไม่แน่นอนของโครงสร้างระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาคอินโดจีนทำให้ไทยเกิดสภาวะอนาธิปไตย การถอยออกของสหรัฐอเมริกาต่อภูมิภาคอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการแข่งขันกันขยายอิทธิพลในภูมิภาคอินโดจีนของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงปัญหาการรบบริเวณชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา ปัญหาการรบบริเวณชายแดนกัมพูชา-ไทย ทำให้เกิดความสับสนต่อการดำเนินการทางยุทธศาสตร์ของไทยเป็นอย่างมาก ไทยต้องสงวนท่าทีที่จะสนับสนุนมหาอำนาจใด ๆ แบบเปิดเผย การดำเนินการยุทธศาสตร์ของไทยดำเนินไปด้วยการอาศัยการพิจารณาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับโลกและในระดับภูมิภาคอินโดจีน ดังนั้น ยุทธศาสตร์ชาติของรัฐไทยในยุคผ่อนคลายความตึงเครียดมี 2 ยุทธศาสตร์หลัก ๆ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติของรัฐไทยต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน และยุทธศาสตร์ชาติของรัฐไทยต่อปัญหาภายในประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติไทย ดุลแห่งอำนาจกับรัฐมหาอำนาจ การป้องกันภัยคุกคามจากกลุ่มประเทศโลกคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนที่ขาดหายไป กระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน และให้จีนลดการสนับสนุนระดับพรรคต่อพรรคระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (พคจ.) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และยุติสถานการณ์การปฏิวัติของลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศ ทำให้รัฐไทยสามารถเพิ่มพูนพลังอำนาจด้านการทหารและความมั่นคงแห่งชาติ เพิ่มพูนพลังอำนาจด้านเศรษฐกิจ เพิ่มพูนพลังอำนาจด้านสังคม และเพิ่มพูนพลังอำนาจด้านวิทยาการและเทคโนโลยี
THAILAND NATIONAL STRATEGY IN THE DÉTENTE ERA
Abstract:
The purpose of this research was to study the detente situations of Thailand in the world context, the detente situations of Thailand in Indochina context, and the Thailand national strategy in the detente era from the cold war. This research used qualitative research method by study documents and the use of a structured questionnaire to interviewing experts and information were analyzed using descriptive. The results indicated that confusion and uncertainty of the international structure in the world and Indochina affected to Thai’s anarchic. Termination of support by USA to Indochina and Southeast Asia, and competition and expand its influence in Indochina of the Soviet Union and China Including issues of border fighting in Vietnam-Cambodia and issues of border fighting in Cambodia-Thailand affected to confusing towards the implementation of Thai’s strategy is extremely. Thailand was careful to support any one superpower openly. Thai's strategy to continue to live with the situation that occurred both in world situations and Indochina situations. Therefore, the Thai’s national strategies in detente era are two main strategies: Thai’s national strategies toward China and Thai’s national strategies toward domestic issue. The purposes of Thai’s national strategies were to national security, balance of power that world powers, threat from the communism in Indochina, relations between Thailand and China in the past breakup, increase relationship between Thailand and China, reduce the sponsorship and event of communist party of China toward communist party of Thailand, and cut of revolution situation of the communism in Thailand. The implementations of the Thai’s national strategies in detente era lead to increase in the national power including national security, military power, economic power, social power, and technology power.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด