แนวทางการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ( ASEAN Power Grid )

ผู้แต่ง

  • viboon rerksirathai

คำสำคัญ:

ภูมิภาคอาเซียน, อาเซียน เพาเวอร์ กริด, HAPUA, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

แนวทางการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ( ASEAN Power Grid )

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนา ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน โดยศึกษาในเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอาเซียน เพาเวอร์ กริด ในเรื่องการใช้พลังงานของอาเซียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าที่สุด สร้างความยั่งยืน มีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผลักดันให้อาเซียนทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นของโลก ทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยศึกษาวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต  ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งข้อมูลจากหน่วยงานภายในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับ  อาเซียน เพาเวอร์ กริด

ผลการวิจัยพบว่า ด้วยภูมิภาคอาเซียนมีความหลากหลายของทรัพยากร บางประเทศมีแหล่งทรัพยากรพลังงานน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ ต้องพึ่งพาประเทศอื่นบางประเทศมีแหล่งทรัพยากรพลังงานมาก หากแต่ยังไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในขณะที่ทุกประเทศจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าให้พอใช้กับความต้องการของประเทศตนเอง ไม่ว่าจะมาจากภายในประเทศและหรือการนำเข้า ซึ่งการจัดสรรที่แยกกันทำของแต่ละประเทศสร้างผลเสียต่อภูมิภาคอาเซียน แนวคิดของอาเซียน เพาเวอร์ กริด จึงเน้นในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแผนแม่บทการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Interconnection Master Plan Study - AIMS) ภายใต้ความดูแลของผู้บริหารสูงสุดกิจการไฟฟ้าของอาเซียน (Heads of ASEAN Power Utilities/Authorities- HAPUA) แผนการศึกษาการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าในครั้งนี้ เป็นแผนระยะยาว ๑๖ ปี ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๒ –๒๕๖๘ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า โครงการสายส่งที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่มีพรมแดนติดกันมี ๑๖ โครงการ แต่ทั้งนี้การสร้างเครือข่ายพลังงานในกลุ่มประเทศอาเซียนดังกล่าวพบปัญหาในการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าในภูมิภาค เช่นปัญหาการวางแนวสายส่ง ซึ่ง กฟผ. ได้พยายามหามาตรการการแก้ไขโดยการกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดแนวสายส่งให้ชัดเจน เพื่อให้ลดผลกระทบและให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด หรือปัญหาในเรื่องกรอบการทำงานของกฎหมาย กฎเกณฑ์และมาตรการทางภาษีสำหรับการถ่ายเทพลังงานข้ามแดนระหว่างกัน ปัญหาเรื่องมาตรฐานทางเทคนิค และปัญหาการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ โดยมาตรการการแก้ปัญหาดังกล่าวคือการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นต้น สำหรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มีมาตรการการแก้ไขโดยให้มีการเผยแพร่ขั้นตอนและกระบวนการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งการแก้ปัญหาที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดต้องอยู่บนฐานของความสมดุลกันระหว่างผลประโยชน์สาธารณะด้านต่างๆ กับผลประโยชน์สาธารณะด้านความมั่นคงทางด้านพลังงาน

                   ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา คือการพิจารณาประเด็นของความคุ้มทุนในการลงทุนพัฒนาระบบส่งไฟฟ้า การก่อสร้างการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าในลักษณะโครงข่ายระบบไฟฟ้าของภูมิภาคเพื่อถ่ายเทพลังงานจากแหล่งที่มีราคาถูกไปยังประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก ซึ่งจะทำให้ต้นทุนไฟฟ้าโดยรวมถูกลงและการจัดหาพลังงานมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพื่อความสมดุลด้านความมั่นคง ด้านราคา ด้านความเสมอภาคในการเข้าถึงพลังงาน และด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญการสนับสนุนในเรื่องนโยบายพลังงานหมุนเวียนเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาถึงการทำงานของคณะทำงาน HAPUA
( HAPUA Working Group : HWG ) ในแต่ละกลุ่มทำงาน ได้แก่ กลุ่ม  Generation and Renewable Energy , กลุ่ม Transmission and APG, กลุ่ม Distribution and Power Reliability & Quality, กลุ่ม Policy and Commercial Development  และ กลุ่ม Human Resources   เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบส่งในรายละเอียด เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน และเพื่อเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ความคุ้มทุนของความมั่นคงทางพลังงานกับความสมดุลย์ในด้านอื่นๆ ดังที่ระบุข้างต้น

 

The Approach to Development Interconnected Transmission System in ASEAN (ASEAN Power Grid) 

Abstract

The research ‘s purpose is to study development, problems and solutions of interconnected transmission system in ASEAN, for efficient allocation of energy resources. To comply with the objectives of sustainable energy in ASEAN Power Grid, optimization of the region’s energy resources towards an integrated ASEAN Power Grid system, and standardization all aspects of technical standards and operating procedure as well as regulatory frameworks among member countries are required. This qualitative research bases mainly on a documentary study through data analyzed and collected from articles and internet document contributed by related government and private sectors together with collective data from Electricity Generation Authority of Thailand (EGAT) as one of participants in ASEAN Power Grid.

It has been found that ASEAN as a whole has abundant and diversified energy resources. There is a potential in hydropower , oil, natural gas, and coal. This diversity provides vast opportunities to exploit these energy resources collectively within ASEAN thereby reducing the need and dependency on imported fuel from other regions. The committee of ASEAN Interconnection Master Plan Study (AIMS) under the supervision of Heads of ASEAN Power Utilities/Authorities (HAPUA) has been set up to study  master plan of interconnected transmission system in ASEAN. This master plan lasts 16 years  (A.D.2009-2025). Its result shows that there are 16 potential projects to improve interconnected transmission system in ASEAN. However, Trans-ASEAN Energy Network is likely to have major problems like route selection in transmission line. The solution of the development of interconnected transmission system is to set the least impacting transmission line criteria. For legal and regulatory obstacles and trade barriers in the region ,the center for electricity  trade, standardizing technical codes and establishing financial platform will be set up. For environmental concern, clear publicity of energy projects is mandatory. In conclusion, all solutions above are based on the balance between public interest and energy security.

The study indicated that investment in transmission system development is worthy. The overall cost of electricity will be reduced. The electricity supply will be more available and reliable. Last but not least, the policies in supporting of renewable energy are important for sustainability.

The suggestion for further research is to study other working groups of  HAPUA: Generation and Renewable Energy , Transmission and APG, Distribution and Power Reliability & Quality, Policy and Commercial Development , and Human Resources to determine and analyze the barriers of interconnected transmission system in ASEAN for future achievement in ASEAN Power Grid.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-26