การบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command in the Royal Thai Armed Forces Headquarters according to the Sufficiency

ผู้แต่ง

  • wichuda sangarnetara

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, Administration, public relations, the Armed Forces Development Command, the Royal Thai Armed Forces Headquarters, the Sufficiency Economy Phil

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาในการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบความสำเร็จ              

          ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยแบบผสมผสาน โดยเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลัก และใช้การวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลสนับสนุน วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ จำนวน 22 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง รวมถึงการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จำนวน 5 คน  สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทำการแจกจ่ายแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวนรวม 592 คน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ผลข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาในการบริหารจัดการการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การใช้สื่อที่ยังคงขาดความหลากหลาย การไม่ได้รับเครื่องมือที่ทันสมัยอย่างเพียงพอ การขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ การไม่ได้รับงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสมกับปริมาณงานที่ได้รับ และการขาดตัวแบบนำในการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาควรพัฒนาการใช้สื่อให้มีความหลากหลาย รวมถึงจัดทำสื่อของตนเองให้มากขึ้น พัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ที่เหมาะสม จัดสรรงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอและเหมาะสมกับภาระงาน และนำตัวแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการวิจัยนี้ คือ ตัวแบบ MUM ซึ่งประกอบไปด้วยด้านต่าง ๆ 3 ด้าน คือ ด้านการคิด ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการประเมินผล ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานตนเอง และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในกองบัญชาการกองทัพไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การบริหารบุคลากร การบริหารงบประมาณ การบริหารวัสดุอุปกรณ์ การบริหารงานทั่วไป และการบริหารข่าวสาร

 

Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command in the Royal Thai Armed Forces Headquarters according to the Sufficiency

Abstract

          Objectives of this research were to explore: (1) the problem situation in the Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command, the Royal Thai Armed Forces Headquarters according to the Sufficiency Economy Philosophy, (2) development guidelines for Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command, the Royal Thai Armed Forces Headquarters, and (3) key supporting factors for development guidelines for the success of Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command, the Royal Thai Armed Forces Headquarters according to the Sufficiency Economy Philosophy.

          Methodology of this research was designed as a mixed methods research comprised of qualitative research as a primary method, and quantitative research as a supportive data gathering technique.  For qualitative method, data was collected by conducting 22 in-depth interviews with experts or those with extensive experience in the field of Public Relations.  Each interview was face to face interview, and utilized a semi-structured in-depth interview form.  In addition, a focus group of 22 key informants, who were relevant to or specialized in Public Relations Administration, was also conducted.  The researcher analyzed all qualitative data to write a descriptive narrative. Quantitative method’s sample was 592 questionnaires, acquired from those personnel involved with the Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command, the Royal Thai Armed Forces Headquarters.  The statistics employed was the Arithmetic mean and the standard deviation.

          Results of this research were (1) the Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command, the Royal Thai Armed Forces Headquarters was deficient in the following areas: variety of media utilization; modern and adequate number of equipment; experienced personnel; proportionate budget compared to workloads; and, particularly, the practical model for Public Relations Administration, (2) development guidelines proposed in this research were to: attain and utilize more various media, including ones of its own; acquire knowledgeable personnel; manage appropriate proportions of budget and equipment to regular and upsurge workloads; and apply the newly developed model called ‘MUM,’ which contains the aspects of Mentoring, Utilizing, and Monitoring; and (3) key supporting factors for development guidelines for the success of the Public Relations Administration of the Armed Forces Development Command, the Royal Thai Armed Forces Headquarters are the proper administration of men, money, material, management, and message.



Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-26