กองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียน กับการเสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Peacekeeping Force and ASEAN Regional Security)
คำสำคัญ:
กองกำลังรักษาสันติภาพอาเซียน, ความมั่นคงในภูมิภาค, การแข่งขันของมหาอำนาจในภูมิภาค และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาค, ASEAN Peacekeeping Force, Regional security, Superpower competition, and Uncertain regional security situationบทคัดย่อ
กองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียนกับการเสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน
บทคัดย่อ
อินโดนีเซียได้เสนอแนวคิดการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียนเมื่อปี ๒๕๔๖ แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกอาเซียนมากนัก ต่อมาในปี ๒๕๕๘ มาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนได้เสนอแนวคิดดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ ได้รับการตอบรับจากสมาชิกอาเซียนมากขึ้น กองกำลังรักษาสันติภาพอาเซียนจะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้อาเซียนมีเครื่องมือที่จะใช้ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสนับสนุนสหประชาชาติ และรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค แม้ว่าการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพอาเซียนจะเป็นสิ่งที่อาเซียนมีความชอบธรรมที่จะทำได้ แต่การแข่งขันของมหาอำนาจในภูมิภาคได้ทำให้เรื่องนี้มีความสลับซับซ้อนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อประเด็นที่จีนมีข้อพิพาทเรื่องอธิปไตยและผลประโยชน์เหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ ปัจจัยที่น่าจะสำคัญที่สุดในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียนในขณะนี้จึงเป็นเรื่อง การกำหนดบทบาท ภารกิจ และกรอบขอบเขตการปฏิบัติงานที่เหมาะสมของกองกำลังรักษาสันติภาพอาเซียน คาดว่า ประชาคมอาเซียนน่าจะเดินหน้าแนวคิดการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพอาเซียนต่อไป แม้ว่าสถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ก็ตาม
ASEAN Peacekeeping Force and ASEAN Regional Security
Abstract
The ASEAN Peacekeeping Force (ASEAN PKF) was first introduced by Indonesia in 2003 but not much welcomed by the ASEAN Members. Malaysia, in the capacity of the Chair of ASEAN in 2015, reintroduced the concept again and more Members have welcomed the concept. ASEAN PKF will be an innovation that will enable ASEAN to fully commit to its goal of maintaining regional peace and stability and support the United Nations in such role. Though it is legitimate for ASEAN to establish such a peacekeeping force, regional security that is complicated by superpower competition makes it a complex issue, in particular, with China over the issue of the South China Sea. The role, framework, and scope of the use of the ASEAN PKF will probably be the most important factors that will determine its inception. ASEAN Community will make the concept materialized despite uncertain regional security situation.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในนิตยสารนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรและทางราชการแต่อย่างใด