การใช้หลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาตน: กรณีศึกษานักศึกษาที่เข้าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้น มหาวิทยาลัยรามคําแหง

Main Article Content

ลักษณวัต ปาละรัตน์

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพิจารณาหาหลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งพิจารณาหา วิธีการที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาตนของนักศึกษาที่เข้าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้น และศึกษาผลจากการนำ หลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาไปใช้เพื่อการพัฒนาตน ทั้งทางกาย ทางจิต และคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ผลจากการวิจัยเอกสาร พบว่า “บุญกิริยาวัตถุ” อันประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา นั้นเป็นหลักธรรมที่เหมาะสม กับการนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตน สำหรับวิธีการนำไปใช้ จากการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ดร.แมกซเวลล์ มอลทซ์ ที่รู้จักกันในชื่อของ “ทฤษฎี 21 วัน” ที่ว่าการกระทำซ้ำที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลา  21 วันเป็นอย่างน้อยนั้นจะเริ่มตกผลึกกลายเป็นนิสัยได้นั้น เหมาะสมกับการนำมาใช้กำหนดกรอบระยะเวลาของการฝึกปฏิบัติเพื่อ ให้เกิดผลเป็นการพัฒนาตนอย่างยั่งยืนได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า “บุญกิริยาวัตถุ” เป็นหลักธรรมที่นักศึกษาทุกคนในกลุ่มปฏิบัตินั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ตนสามารถปฏิบัติได้และเคยชินจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และเมื่อปฏิบัติแล้วก็ทำให้มีการพัฒนาตนทั้งทางกาย ทางจิต ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้นทั้งด้านพฤติกรรม ลักษณะนิสัย ความคิด จิตใจ นั้นเป็นการพัฒนาในระดับมาก ขณะที่รองลงมาเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับมากที่สุด และมีเพียงส่วนน้อยและส่วนน้อยที่สุดที่เห็นว่าเป็นการพัฒนาในระดับปานกลาง และในระดับน้อย ตามลำดับ และหากจะพิจารณาถึงคุณธรรมพึงประสงค์ 4 ประการ ของ “คนไทย 4.0” ที่ต้องการเสริมสร้างและพัฒนาก็พบว่าหลัก “บุญกิริยาวัตถุ” สามารถตอบโจทย์นี้ได้  โดย “ศีล” อันเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นนั้นช่วยพัฒนาความเป็นผู้มีระเบียบวินัยในการดำรงชีวิตอยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรม และพัฒนาความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น  ในขณะที่ “ทาน” การให้ เสียสละ แบ่งปัน ก็ช่วยในการพัฒนาคุณธรรม 2 ประการ คือ ความพอประมาณหรือความพอเพียง และการมีจิตสาธารณะ  และท้ายสุด  “ภาวนา” ก็เป็นการพัฒนาจิตและคุณสมบัติของจิตทั้ง 3 ด้าน คือ คุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และสุขภาวะของจิต พร้อมๆ ไปกับการพัฒนา “ปัญญา” ให้มีความเข้าใจใธรรมชาติที่แท้จริง ของชีวิตและสรรพสิ่ง ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และดำรงชีวิตดูอยู่ได้โดยไม่ทุกข์


 

Article Details

How to Cite
ปาละรัตน์ ล. . (2020). การใช้หลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาตน: กรณีศึกษานักศึกษาที่เข้าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้น มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(2), 33–44. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusoc/article/view/248887
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ลักษณวัต ปาละรัตน์, รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. 2560. ประเทศไทย 4.0 กับคุณธรรม 4ประการ. แหล่งที่มา http://www.marketeer.co archives/129863.
เทอดศักดิ์ เดชคง. 2545. ความฉลาดทางอารมณ์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
ปณิธิ พุทธกรุณา. บรรณาธิการ. ม.ป.ป. พัฒนาอารมณ์ พัฒนาสติปัญญา ศักยภาพของ IQ และ EQ. กรุงเทพมหานคร: ทัพอักษรการพิมพ์.
พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาไทย ฉบับครบรอบสองร้อยปีแห่งราชวงศ์จักรี. 2525. เล่มที่ 37. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร), สมเด็จพระมหา. 2527. บทสร้างนิสัย. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. 2544. บุคลิกภาพที่ดีกับระดับอีคิวของเด็ก ใน ผานิต บุญมาก (บรรณาธิการ). ไอคิวและอีคิวประตูสู่ความสำเร็จของลูก (หน้า 9 - 15). กรุงเทพมหานคร: แปลนพริ้นติ้ง.
สมภพ โชติปัญโญ. พระ. 2559. บุญ ทาน น่าอัศจรรย์จริง. กรุงเทพ: หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2560. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี.
Clear, J. 1980. “ How long does it actually take to form a new habit? ” Retrieved from http://jamesclear.com/new-habit.
Maltz, Maxwell. 1960. Psycho - Cybernetics.
New York: Essandess Special Edition.