การจัดการกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (Strategic Management of School Administrators affecting Teacher’s Academic Performance of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 9 )

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ คุ้มโต (Wanphen Khumto) 0818908119
  • ดวงใจ ชนะสิทธิ์ (Duangjai Chanasid)

คำสำคัญ:

Strategic Management /Teachers’ Academic Performance /Secondary Education

บทคัดย่อ

 

 

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน 2) การปฏิบัติงานวิชาการของครู และ 3) การจัดการกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 325 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบจำแนกประเภทตามสัดส่วนขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ซึ่งรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับ ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ การกำหนดและการจัดทำกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร ตามลำดับ 2) การปฏิบัติงานวิชาการของครูโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับ ได้แก่ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การสร้างและจัดทำหลักสูตร การวัดผลและ ประเมินผล ตามลำดับ 3) การจัดการกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วยการกำหนดและการจัดทำกลยุทธ์ (X3) และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (X4) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการของครู โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 69.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เอกสารอ้างอิง
กิ่งพร ทองใบ. (2557). เอกสารการสอนชุดวิชาองค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์ หน่วยที่ 9
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมมาธิราช.
ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2552). “รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก”. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย 1(1):71-80.
จตุพร สังขวรรณ. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชัชฎาภรณ์ อร่ามรุณ. (2555). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร.
ตฤณ ศุภโชคอุดมชัย. (2557). กลยุทธ์การบริหารสถาน ศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). “แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาด เล็ก” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 1(1):61-70.
ประสิทธิ์ อังกินันท์. (2559). “การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษา”. วารสาร ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 39(2): 68-76.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2559,
จาก<Dpl2. wu.ac.th/strategic/data/word_stra_54_kabi.do>.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
พรรณนภา อิงพงษ์พันธ์. (2554). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับผลการปฏิบัติงานวิชาการใน สถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.
ไพรัช ถิ่นธานี. (2556). Global communication management and strategic management. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2559, จาก <https://www.docstoc.com/docs/24189061/ Communication Management- Policy>.
ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชราภรณ์ สมพงษ์ผึ้ง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิภาพการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). ผลการสอบวิชาภาษาไทย (O-Net). สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2560, จาก <https://www.niets.or.th/>.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์. (2559). การวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียน (PISA). สืบค้นเมื่อ
5 มีนาคม 2560, จาก <https://www.ipst.ac.th/index.php>.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. (2560). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. เอกสารหมายเลข 2/2560 กลุ่มนโยบายและแผน. สุพรรณบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 9.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงาน
ข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
________. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2560,
จาก <https://www.ldd.go.th/www/files/78292.pdf>.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). กรอบทิศทางแผนการศึกษาชาติ
พ.ศ. 2560-2574. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2560, จาก<https://www.moe.go.th/moe/
th/news/detail.php?NewsID=45159&Key=news20>.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). โรงเรียนมาตรฐานสากลคู่มือการขับเคลื่อนกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอี่ยมจิรา เดชกัลยา. (2559). การปฏิบัติงานวิชาการของครูโรงเรียนในกลุ่มค่ายพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Kimbrough, Ralph B, and Michael Nunnery. (1998). Education Admisistration.
(3rd ed.) New York: Macmillan Publishing Company.
Pearce, John A., & Robinson, Richard B. (2009). Strategic management: Formulation,
Implementation and control. (11thed.). Boston: McGrawHill.
West III, Page G., & Bamford, Charles E. (2010). Strategy: Sustainable advantage and performance. Canada: South-Western Cengege Learning.

เผยแพร่แล้ว

2019-02-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย