กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Administrational Strategies for STEM Education of Secondary School Under the Office of the Basic Education Commission)

ผู้แต่ง

  • รมณี เหลี่ยมแสง (Romanee Liamsang) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ฉลอง ชาตรูประชีวิน (Chalong Chatruprachewin)

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหาร/ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา/ โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาโดยการสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าโครงการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง   สะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 264 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และศึกษาแนวทางการบริหารจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ หัวหน้าโครงการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา จำนวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 2) สร้างและตรวจสอบกลยุทธ์โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์โดยการสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 201 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริม การเรียนรู้และการพัฒนา         การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากร และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และกลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริม พัฒนาการบริหารการจัด      การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

เผยแพร่แล้ว

2019-02-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย